Categories
ข่าว

พิษโควิด!! ผู้ประกันตน ม.39 อาชีพอิสระ -ม.40 ลูกจ้างประจำ-พาร์ทไทม์ มีสิทธิ์ขอรับเงิน 5 พันบาท

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 25 มี.ค.63 ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำเนียบรัฐบาล กระทรวงแรงงาน ชี้แจงมาตรการดูแลแรงงานผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทั้งในระบบและนอกระบบ รวมไปถึงแรงงานต่างด้าว

หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวานที่ผ่านมาแก้กฎกระทรวง เรื่องประโยชน์ทดแทนจากเหตสุดวิสัย ให้รวมถึงโรคติดต่อที่แพร่ระบาดในมนุษย์ ซึ่งประกาศกระทรวงแรงงาน ขยายเวลาการส่งเงินสมทบของทั้งนายจ้างและแรงงาน โดยกำหนดให้นำส่งเงินสมทบงวดมีนาคม ให้นำส่งภายในวันที่ 15 กรกฎาคม งวดเดือนเมษายน ให้นำส่งภายในวันที่ 15 สิงหาคม และงวดเดือนพฤษภาคม นำ 15 กันยายน พร้อมกับลดการนำส่งเงินสมทบ นายจ้างลดลงร้อย 4 และลูกจ้างลดลงเหลือเพียงร้อยละ 1

นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ประกันตนที่มีอาชีพอิสระตามมาตรา 39 และ มาตรา 40 ลูกจ้างทั้งประจำและพาร์ทไทม์ และอาชีพอิสระ ที่ไม่ได้ทำประกันสังคม รวมทั้ง ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ส่งเงินยังไม่ครบ 6 เดือน ซึ่งยังไม่มาสิทธิ์รับเงินกรณีว่างงาน ก็มีสิทธิ์ได้รับเงินเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท จำนวน 3 เดือน จากกระทรวงการคลัง ภายใต้หลักเกณฑ์และการกำหนด จากการเปิดลงทะเบียน ที่กระทรวงการคลังกำหนด

สามารถลงทะเบียนได้ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2563 และ • ผ่านสาขาธนาคารของรัฐ ธ.กรุงไทย ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส. โดยสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ www.sso.co.th หรือสายด่วนประกันสังคม 1506

นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยถึงกรณีสถานประกอบการปิดกิจการชั่วคราวสามารถทำได้ตามสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งในข้อกฎหมายระบุนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในอัตราร้อยละ 75 ของค่าจ้าง

นายดวงฤทธิ์ เบ็ญจาริกุล ชัยรุ่งเรือง ยังระบุอีกว่า ขณะนี้กระทรวงแรงงานมีการจัดตั้งศูนย์จากทั้งภาครัฐและเอกชน ในการเป็นศูนย์ข้อมูลสำหรับนายจ้างและลูกจ้าง รวบรวมตำแหน่งงาน และอัตราการว่างงานของแรงงาน เพื่อประสานและช่วยเหลือทั้งลูกจ้างและนายจ้าง

นายธวัช เบญจาธิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน การฝึกอาชีพให้แก่แรงงานนอกระบบการจ้างงาน 390 รุ่น 8,000 คน วงเงิน 33 ล้านบาท ส่วนที่สองเป็นการฝึกแรงงานในระบบ การประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ต หลักสูตร 1 เดือน 7,000คน วงเงิน 35 ล้านบาท

ด้านนายเชิดศักดิ์ วิสุทธิกุล ผู้ตรวจราชการกรมกรมการจัดหางาน กล่าวถึงการต่ออายุแรงงานต่างด้าวที่ใบอนุญาตสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคม 2563 ต่ออายุให้ถึง วันที่ 30 มิถุนายน ยกเว้นค่าปรับพำนักในราชอาณาจักรเกินเวลา โดยสามารถยื่นต่อใบอนุญาตได้ 2 รูปแบบ คือที่ตั้งสำนักงงาน และศูนย์เบ็ดเสร็จ ซึ่งขณะนี้มีการลงเบียนไปมากกว่าร้อยละ 90 โดยสามารถลงทะเบียนได้ถึงวันที่ 31 มีนาคมนี้ และเชื่อว่าการลงทะเบียนทั้งหมดจะแล้วเสร็จทันเวลาที่กำหนด พร้อมยืนยันว่าไม่ได้มีการปิดศูนย์แต่อย่างใด เป็นเพียงการปรับรูปแบบการทำงาน โดยในเดือนพฤษภาคมในส่วนของสำนักงงานตรวจคนเข้าเมือง และกรมการปกครองจะกลับไปดำเนินการ ณ ที่ตั้ง

ทั้งนี้ หากแรงงานต่างด้าวลงทะเบียนไปทันตามระยะเวลาที่กำหนด แรงงานต้องเดินทางกลับประเทศเพื่อทำการร้องขอกลีบเข้ามาทำงานใหม่ตามระบบและขั้นตอน จึงนำแรงงานเหล่านั้นเข้ามาสู่ระบบใหม่