Categories
ข่าว

ประกาศแล้ว!! ผู้ว่าฯมหาสารคาม สั่งผ่อนคลาย เปิดร้านอาหาร-ตลาด-ร้านตัดผม ฯลฯ

วันที่ 2 พ.ค.63 ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม ฉบับที่ 9 /2563 เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 จังหวัดมหาสารคาม ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ มาตรการป้องกันและสกัดกั้นการนําเชื้อสู่พื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ให้ดําเนินการดังนี้
๑.๑ ให้มีศูนย์บัญชาการเหตุการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ ของจังหวัดมหาสารคาม จัดตั้งที่สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม และให้มีศูนย์บัญชาการระดับ อําเภอ ทุกแห่ง
๑.๒ ให้มีคณะกรรมการเฝ้าระวัง ติดตาม และตรวจสอบผู้ถูกกักกันในระดับอําเภอ ผ้าบล ดําเนินการตามคําสั่งและตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘
๑.๓ ให้มีคณะกรรมการระดับจังหวัด ระดับอําเภอ และระดับตําบลที่กํากับดูแล ตรวจการ ประกอบการหรือการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามมาตรการที่กําหนด

ข้อ ๒ มาตรการด้านการแพทย์และการสาธารณสุข
๒.๑ ให้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม เตรียมความพร้อมด้านการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน และควบคุมโรค โดยให้หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ (CDCU) เตรียมความพร้อม ด้านบุคลากร และทรัพยากรในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกันและควบคุมโรค
๒.๒ ให้โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง เตรียมความพร้อมของห้องแยกโรคความดันลบ ห้องแยก โรคทั่วไป บุคลากร และสํารองทรัพยากรในการดูแลผู้ป่วยให้เพียงพอ
๒.๓ ให้โรงพยาบาลมหาสารคาม เตรียมความพร้อมของห้องแยกโรคความดันลบ ห้องแยก โรคทั่วไป บุคลากร หอผู้ป่วยรวมแยกโรค (Cohort Ward) และสารองทรัพยากรในการดูแลผู้ป่วย ให้เพียงพอ
๒.๔ กรณีที่มีผู้ป่วยยืนยัน (Conum case) ในโรงพยาบาลมหาสารคาม มากกว่า ๓๐ ราย ให้เปิดโรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่ที่กําหนดไว้เป็นโรงพยาบาลเฉพาะด้านเพื่อการรักษาโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ หรือมาตรการอื่นๆ ตามความจําเป็น

ข้อ ๓ มาตรการป้องกัน และยับยั้งการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิต ๑๙ ภายในจังหวัดมหาสารคาม กรณีบุคคลจากภายนอกพื้นที่ เดินทางเข้ามาในพื้นที่ ให้มีการปฏิบัติ

๓.๑ ให้ผู้ที่เดินทางมาจาก (๑) ประเทศเขตติดโรคติดต่ออันตราย (๒) ประเทศซึ่งเป็นพื้นที่ ระบาดต่อเนื่อง (๓) ต่างประเทศอื่นๆ ที่เข้าฟ้านักในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามถูกกักกันที่ Local Quarantine เป็นเวลาต่อเนื่องกันจํานวน ๑๔ วัน และให้ผู้ที่เดินทางกลับจากกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล รวมถึงจังหวัดอื่น ที่เข้าพํานักในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามถูกกักกันที่บ้าน (Home Quarantine) เป็นเวลาต่อเนื่องกันจํานวน ๑๔ วัน

ทั้งนี้ให้ยกเว้น ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดมหาสารคาม ที่จําเป็นต้องเดินทางไปปฏิบัติงาน หรือมีความจําเป็นเพื่อดูแลญาติผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ หรือเดินทางไปเยี่ยม ครอบครัว บุตร ธิดา สามีและภรรยา รวมทั้งการไปพบแพทย์เพื่อรักษาตัวเอง ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์และสุรินทร์ ให้ได้รับการอนุญาตเป็นการเฉพาะรายจากนายอําเภอในพื้นที่เป็น คราวๆ ไป (คราวละไม่เกิน ๕ วัน) และให้ยกเว้นผู้ที่เดินทางผ่านเข้ามาในจังหวัดมหาสารคาม เพื่อเดินทาง ไปยังจังหวัดอื่น โดยห้ามพักแวะทํากิจกรรมใดๆ ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามโดยเด็ดขาด ยกเว้นมีเหตุ จําเป็นอย่างยิ่งยวด

๓.๒ ในระดับตําบล ให้ผู้บริหารท้องถิ่น กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน และ อสม. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขในพื้นที่ สํารวจผู้ที่เดินทางจาก (๑) ประเทศเป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย (๒) ประเทศซึ่งเป็น พื้นที่ระบาดต่อเนื่อง (๓) ต่างประเทศอื่นๆ (๔) ผู้เดินทางกลับจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (๕) จังหวัดอื่น ที่เข้าฟ้านักในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ให้รายงานต่อนายอําเภอทุกวัน และนายอําเภอรายงาน ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามทุกวัน

๓.๓ ให้สถานีขนส่งทุกแห่ง ดําเนินการคัดกรองผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่จังหวัด มหาสารคาม โดยการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ทั้งนี้หากพบผู้มีใช้มากกว่า ๓๗,๕ องศาเซลเซียส และมี ประวัติการเดินทางจาก (๓) ประเทศเป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย (๒)ประเทศซึ่งเป็นพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง (๓) ต่างประเทศอื่นๆ (๔) ผู้เดินทางกลับจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (๕) จังหวัดอื่น หรือมีประวัติ สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยัน ให้รายงานนายอําเภอในพื้นที่ ทันที ทั้งนี้ ให้รถขนส่งสาธารณะทุกประเภท มีการทํา ความสะอาด การสวมหน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัยทั้งผู้ให้และผู้ใช้บริการ และการดําเนินการตามมาตรฐาน ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือ โรคโควิด ๑๙

ข้อ ๔ มาตรการป้องกัน และยับยั้งการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือ โรคโควิด ๑๙ ภายในจังหวัดมหาสารคาม ให้มีการปฏิบัติดังนี้
๔.๑ ห้ามข้าราชการ พนักงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจของจังหวัดมหาสารคาม เดินทาง ไปต่างประเทศ ยกเว้นมีเหตุจําเป็นสําคัญ และเตือนประชาชนจังหวัดมหาสารคามให้งตการเดินทางไปใน ประเทศซึ่งเป็นพื้นที่ระบาตต่อเนื่อง

๔.๒ การห้ามหรือข้อจํากัดการดําเนินการหรือการทํากิจกรรมบางอย่างตามพระราชกําหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
๑) ห้ามการใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภทเพื่อจัดการ เรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทํากิจกรรมใดๆ ที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจํานวนมากเว้นแต่เป็นการ ดําเนินการสื่อสารแบบทางไกลหรือด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์

๒) ห้ามผู้ใดจัดให้มีกิจกรรมซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจํานวนมากในลักษณะมั่วสุมประชุมกัน หรือ มีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่าย เช่น การประชุม การสัมมนา การแจกจ่ายอาหารหรือสิ่งของ การจัดเลี้ยง เว้นแต่เป็นการจัดโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่และต้องเว้นระยะห่างทาง สังคมระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อยหนึ่งเมตร สถานที่ทํากิจกรรมต้องโล่งแจ้งหรือไม่แออัด ใช้ ระยะเวลาทํากิจกรรมไม่นาน และมีมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกําหนดในกรณีเป็นการประชุม การสัมมนา ควรจัดประชุมด้วยวิธีการตามพระราชกําหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๓ ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๓

๓) ให้ปิดสถานที่ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่โรค ดังนี้ (๑) โรงมหรสพ (๒) สถานบริการ ผับ บาร์ (๓) สถานบันเทิง (๔) สวนน้ํา สนามเด็กเล่น สวนสนุก สวนสัตว์ (๕) สถานที่แล่นสเก็ตหรือโรลเลอร์ เบรดหรือการละเล่นอื่นๆ ในทํานองเดียวกัน (๖) สนุกเกอร์ บิลเลียด (๗) สถานที่เล่นโบว์ลิ่ง (๘) ตู้เกม ร้าน เกมและร้านอินเทอร์เน็ต (๙) สระว่ายน้ําสาธารณะ (๑๐) สนามชนไก่ (๑๑) ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า (๑๒) สถานที่ออกกําลังกายฟิตเนส (๑๓) คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม (๑๔) ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม สถานที่จัดนิทรรศการ (๑๕) พิพิธภัณฑ์ (๑๖) ห้องสมุดสาธารณะ (๑๗) สถานรับเลี้ยงเด็ก (๑๘) สถานดูแล ผู้สูงอายุ (๑๙) สนามมวย โรงเรียนสอนศิลปะการต่อสู้ (ยิ้ม) (๒๐) สถานที่สักหรือเจาะผิวหนังหรือส่วนใด ส่วนหนึ่งของร่างกาย (๒๑) สถาบันลีลาศหรือสอนลีลาศ (๒๒) สนามม้า (๒๓) สถานประกอบกิจการอาบน้ํา อบไอน้ํา อบสมุนไพร (๒๔) สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (๒๕) สถานประกอบการนวดแผนไทย นวดฝ่า เท้าและ (๒๖) สถานประกอบกิจการอาบ อบ นวด

ให้ปิดสถานที่ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร์โรคเพิ่มเติม ดังนี้ (๑) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประจําตําบล (๒) ตลาดนัดโค – กระบือ (๓) สถานบริการลดน้ําหนัก (๔)ศูนย์พระเครื่อง พระบูชา และ สนามพระเครื่อง พระบูชา (๕) โรงแรมทุกประเภทที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมตาม พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.๒๕๔๗ หอพักตามพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ.๒๕๕๘ อาคารขุดตาม พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.๒๕๒๒ ห้องเช่า อพาร์ทเม้นท์ รีสอร์ท และสถานประกอบการในลักษณะ เดียวกันทุกแห่งในจังหวัดมหาสารคาม เป็นการชั่วคราวไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง (ยกเว้นให้กับสถานที่ ที่มีผู้เข้าพักอยู่ก่อนประกาศนี้มีผลบังคับใช้ โดยให้พักต่อไปได้และห้ามการรับผู้เข้าพักเพิ่มอีก ทั้งนี้เมื่อผู้เข้า พักเดิมที่พักอยู่ก่อนประกาศนี้ใช้บังคับแจ้งออกจากห้องพักทั้งหมดแล้วให้ปิดในทันที)

๔) ให้งดกิจกรรมการงานบุญ งานแต่งงาน คอนเสิร์ต งานเลี้ยงฉลอง งานที่มีมหรสพทุกประเภท ฯลฯ (ยกเว้นงานศพเท่านั้น โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อตามที่ กระทรวงสาธารณสุขกําหนดอย่างเคร่งครัด)

๕) ให้งดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียน สถานกวดวิชา ทุกแห่ง

๖) ให้สถานที่ราชการ และรัฐวิสาหกิจ ลดความเสี่ยงของการแพร่เชื่อ ในสถานที่ ที่มีประชาชนใช้บริการจํานวนมาก ต้องดําเนินตามมาตรการ ประกอบด้วย การคัดกรองอุณหภูมิก่อน เข้าอาคาร การวางเจลล้างมือในจุดที่มีการใช้ร่วมกัน การทําความสะอาดพื้นผิวสัมผัสและห้องสุขา การใช้ หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างระหว่างคน การจํากัดจํานวนคนเข้าใช้บริการในแต่ละช่วงเวลา ตลอดจน ให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการถือปฏิบัติ และให้ผู้ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ ทางการกําหนดในข้อ ๑๑ แห่งข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑) ดังนี้

(๑) ให้ทําความสะอาดโดยการเช็ดทําความ สะอาดพื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้อง ก่อนการจัดกิจกรรม และให้กําจัดขยะมูลฝอยทุกวัน (๒) ให้เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการ ผู้ร่วมงาน ผู้ร่วมกิจกรรม ลูกจ้าง ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัยหรือ หน้ากากผ้า (๓) ให้บุคคลตาม (๒) ล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ เจล หรือน้ํายาฆ่าเชื้อโรค (๔) ให้บุคคล ตาม (๒) เว้นระยะนั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อยหนึ่งเมตรเพื่อป้องกันการติดต่อสัมผัส หรือแพร่เชื้อโรค ทางฝอยละอองน้ําลาย (๕) ให้ควบคุมจํานวนผู้ร่วมกิจกรรมมีให้แออัด หรือลดเวลาในการทํากิจกรรม ให้สั้นลงเท่าที่จ้าเป็น โดยถือหลักการหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน

๗) ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบตลาดสด การจัดทําป้ายประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ การจัดให้มี อ่างล้างมือและสบู่เหลวล้างมือทุกทางเข้า-ออก หรือการจัดให้มีจุดบริการเจลล้างมืออย่างเพียงพอและ การควบคุมให้ผู้ค้าขายในตลาดใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า และการใช้อุปกรณ์ช่วยลดการสัมผัสโดยตรง จากผู้ค้า เช่น อุปกรณ์คีบ อุปกรณ์ตักอาหาร ฯลฯ

๘) ให้งดกิจกรรมการเล่นกีฬา หรือฝึกซ้อมกีฬาทุกประเภท ในสถานที่ราชการ เอกชน และในพื้นที่สาธารณะทุกแห่ง ในลักษณะเป็นทีม เป็นการแข่งขัน ยกเว้น เป็นการฝึกซ้อมการปฏิบัติหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามข้อกําหนด ประกาศ หรือคําสั่งต่างๆของทางราชการ หรือมีเหตุจําเป็นอื่นๆ โดยได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ 1

๙) ให้งดการชุมนุมที่เกินกว่า ๒ คนขึ้นไป เพื่อการสันทนาการ สังสรรค์ จัดเลี้ยง หรือเพื่อ การบันเทิงในลักษณะเดียวกันในพื้นที่สาธารณะทุกแห่ง

๔.๓ ให้มีการผ่อนคลายให้ดําเนินการหรือทํากิจกรรมบางอย่างได้ เพื่อเป็นการอํานวยความ สะดวกแก่ประชาชนในการทํากิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดําเนินชีวิต ตลอดจนด้านการออกกําลังกาย หรือการดูแลรักษาสุขภาพอันเป็นการช่วยป้องกันโรคได้ทางหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ดังต่อไปนี้
๑) กิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดําเนินชีวิต
ก. การจําหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ในโรงแรม ท่าอากาศยาน สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง โรงพยาบาล ร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ รถเข็น หาบเร่ แผงลอย ซึ่งไม่รวมถึงสถานบริการ ผับ บาร์ ให้เปิดได้โดยอาจให้นํากลับไปบริโภคที่อื่น แต่หากเปิดให้ใช้บริการในสถานที่นั้นก็สามารถทําได้โดย ต้องจัดระเบียบการเข้าใช้บริการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคและคําแนะนําของทางราชการ สําหรับร้านอาหารหรือเครื่องดื่มซึ่งจําหน่ายสุรา ให้เปิดได้แต่ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน โดยต้องดําเนินการตามมาตรการควบคุมหลัก คือ (๑) ทําความสะอาดพื้น พื้นผิวสัมผัสบ่อยๆ ทั้ง ก่อนและหลังการให้บริการ และให้กําจัดขยะมูลฝอยทุกวัน (๒ ) ให้ผู้ประกอบการ พนักงานบริการ ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า (๓) ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ํายาฆ่าเชื้อโรค (๔) ให้เว้นระยะห่างระหว่างโต๊ะ และระหว่างที่นั่ง รวมถึงระยะห่างระหว่างการเดิน อย่างน้อย ๑ เมตร (๕) ให้ควบคุมจํานวนผู้ใช้บริการ มีให้แออัด และดําเนินการตามมาตรการเสริม คือ (๑) มีมาตรการคัดกรองอาการป่วยไข้ ไอ จามหรือเป็นหวัด สําหรับผู้ประกอบการ พนักงานบริการ และ ผู้ใช้บริการตามขีดความสามารถ (๒) ลดเวลาในการทํากิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จําเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยง การติดต่อสัมผัสระหว่างกัน (๓) งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในสถานที่จําหน่ายอาหาร (๔) จัดให้มีพื้นที่ รอคิวที่มีที่นั่งหรือยืน ห่างกันอย่างน้อย ๒ เมตร (๕) อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัวทาง โทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ได้ตามความเหมาะสม หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานใน บางพื้นที่ได้

ทั้งนี้ ร้านสะดวกซื้อ ให้เพิ่มมาตรการในช่วงเวลาเปิดบริการ โดยจัดให้มีระยะห่างลูกค้า ไม่น้อยกว่า ๒ เมตร เช่น บริเวณเคาน์เตอร์ชําระเงิน เป็นต้น และจัดให้มีเจล ล้างมือบริการลูกค้าบริเวณ ประตูทางเข้า พร้อมทั้งผู้ให้บริการและลูกค้าต้องใส่หน้ากากอนามัยหรือ หน้ากากผ้าตลอดเวลาที่ให้บริการ และงดให้บริการแก่ผู้ที่ไม่สวมหน้ากากอนามัย

ข. ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ให้เปิดได้เฉพาะซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา สินค้าเบ็ดเตล็ดที่จําเป็นต่อการใช้ชีวิต และร้านขายปลีกธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ธนาคาร ที่ทําการหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจเท่านั้น ส่วนแผนกร้านอาหารให้เปิดเฉพาะการนํากลับไปบริโภค ที่อื่น โดยต้องดําเนินการตามมาตรการควบคุมหลัก คือ (๑) ทําความสะอาดพื้น พื้นผิวสัมผัสบ่อยๆ ทั้งก่อน และหลังการให้บริการและให้กําจัดขยะมูลฝอยทุกวัน (๒) ให้พนักงานและผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าเสมอ (๓) ให้มีการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ํายาฆ่าเชื้อโรค (๔) ให้เว้น ระยะนั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อย ๑ เมตร (๕) ให้ควบคุมจํานวนผู้ใช้บริการมิให้แออัด หรือพิจารณา กําหนดมาตรการลดเวลาในการใช้บริการให้สั้นลงเท่าที่จําเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัส ระหว่างกัน และดําเนินการตามมาตรการแลริม คือ (๑) มีมาตรการคัดกรองอาการป่วยใช้ไอ จามหรือเป็น หวัด สําหรับผู้ประกอบการ พนักงานบริการ และผู้ใช้บริการตามขีดความสามารถ (๒) จัดให้มีพื้นที่รอคิว ที่มีที่นั่งหรือยืน ห่างกันอย่างน้อย ๑ เมตร (๓) อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัว ทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจําเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึก ข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ก็ได้

ค. ร้านค้าปลีก ค้าส่งขนาดย่อม ร้านค้าปลีก ค้าส่งชุมชน ตลาด ตลาดน้ํา และตลาดนัด ให้เปิดได้โดยต้องควบคุมทางเข้าออก จัดให้มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายผู้ให้และผู้ใช้บริการ การเว้น ระยะห่างในการเลือกสินค้าและการชําระราคา โดยต้องดําเนินการตามมาตรการควบคุมหลัก คือ (๑) ทํา ความสะอาดพื้น พื้นผิวสัมผัสบ่อยๆ ทั้งก่อนและหลังการให้บริการและให้กําจัดขยะมูลฝอยทุกวัน (๒) ให้ ผู้ประกอบการ ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าเสมอ (๓) ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ํายาฆ่าเชื้อโรค (๔) ให้เว้นระยะห่างของแผง หรือระยะนั่งหรือยืน หรือระยะห่าง ในการเลือกสินค้าและการชําระราคาห่างกันอย่างน้อย ๒ เมตร (๕) ให้ควบคุมจํานวนผู้ร่วมกิจกรรมให้ แออัด หรือลดเวลาในการทํากิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จําเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน และดําเนินการตามมาตรการเสริม คือ (๑) ให้มีการควบคุมทางเข้าออก และมีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ใข้ ไอ จามหรือเป็นหวัด สําหรับผู้ประกอบการ และผู้ใช้บริการตามขีดความสามารถ (๒) ไม่อนุญาตการ ให้บริการเครื่องเล่นสําหรับเด็ก (๓) อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัวหางโทรศัพท์เคลื่อนที่มา ใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจําเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบาง พื้นที่ก็ได้

ง. ร้านเสริมสวย แต่งผม หรือตัดผม สําหรับบุรุษหรือสตรี ให้เปิดให้เฉพาะกิจกรรมสระ ตัด ซอยผม แต่งผมและต้องไม่มีผู้นั่งรอในร้าน โดยต้องดําเนินการตามมาตรการควบคุมหลัก คือ (๑) ให้ทํา ความสะอาดโดยการเช็ดทําความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของร้าน อุปกรณ์ก่อนและหลังการให้บริการ และให้ กําจัดขยะมูลฝอยทุกวัน (๒) ให้ช่างตัดผมและผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าเสมอ (๓) ให้ มีการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ํายาฆ่าเชื้อโรค (๔) ให้เว้นระยะห่างระหว่างเก้าอี้ตัดผม อย่างน้อย ๓.๕ เมตร (๕) ให้พิจารณาควบคุมจํานวนผู้ใช้บริการมิให้แออัด ด้วยการลดเวลาในการทํา กิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จําเป็น และงตรอรับบริการภายในร้าน โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่าง กัน และดําเนินการตามมาตรการเสริม คือ (๑) มีมาตรการคัดกรองอาการป่วยใช้ไอ จามหรือเป็นหวัด ทั้ง ช่างตัดผม ผู้ช่วย และผู้ใช้บริการ ตามขีดความสามารถ (๒) ให้ช่างตัดผมและผู้ช่วย (ถ้ามี) สวม Face Shield และเสื้อคลุมแขนยาวทุกครั้งที่ให้บริการ (๓) ให้มีการเปลี่ยนผ้าคลุมตัดผมทุกครั้งที่ให้บริการ (๕) จัดการให้มีการระบายอากาศภายในร้านที่ดี (๕) อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัวทาง โทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจําเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูล และรายงานในบางพื้นที่ก็ได้

จ.ให้ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ มีมาตรการควบคุมปริมาณคนที่ใช้อาคารและผู้รับบริการ โดยควบคุมให้มีปริมาณการใช้พื้นที่ในอัตราส่วน ๑ คนต่อ ๒๐ ตารางเมตร รวมทั้งมีการก้าหนดจุดผ่านเข้า ออกตามความจําเป็น และมีมาตรการด้านการสาธารณสุข เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคม การวัดอุณหภูมิ การมีจุดบริการแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ/เจล ล้างมือ การจํากัดจํานวนคนในกิจกรรมให้เหมาะสมต่อกิจกรรมและ สถานที่ และให้มีมาตรการจัดการการถ่ายเทอากาศที่เหมาะสมเป็นไปตามหลักวิชาการ

๒) กิจกรรมด้านการออกก้าลังกายหรือการดูแลสุขภาพ
ก. สนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ ให้เปิดได้แต่ต้องไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการ แข่งขัน ในกรณีของสโมสร คลับเฮาส์ หรือร้านอาหารในบริเวณดังกล่าวให้ปฏิบัติตาม ๑) ก. โดยต้อง ดําเนินการตามมาตรการควบคุมหลัก คือ (๑) ให้ทําความสะอาดโดยการเช็ดทําความสะอาดอุปกรณ์ พื้น ผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนและหลังการจัดกิจกรรม และให้กําจัดขยะมูลฝอยทุกวัน (๒) ให้ เจ้าหน้าที่ ผู้ร่วมกิจกรรม ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า (๓) ให้ล้างมือด้วยสบู่ หรือ แอลกอฮอล์เจล หรือน้ํายาฆ่าเชื้อโรคอยู่เสมอ (๔ให้เว้นระยะการทํากิจกรรมอย่างน้อย ๑ เมตร (๕) ให้ ควบคุมจํานวนผู้ร่วมกิจกรรมมิให้แออัด หรือลดเวลาในการทํากิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จําเป็น โดยถือหลัก หลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน และดําเนินการตามมาตรการเสริม คือ (๑) มีมาตรการคัดกรองอาการ ป่วย ใช้ไอ จาม หรือเป็นหวัด สําหรับพนักงาน และผู้ใช้บริการ ก่อนเข้าสถานที่ (๒) ต้องไม่มีผู้ชมมาชุมนุม กันหรือเป็นการแข่งขัน (๒) ร้านอาหารในสโมสร คลับเฮาส์ สนามฝึกซ้อมกอล์ฟ ให้ปฏิบัติตามมาตรการ เสริมในข้อ ๑. ก (๔) อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ได้ตามความ เหมาะสมและความจําเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ก็ได้

ข. สนามกีฬาเฉพาะกีฬาประเภทกลางแจ้ง และตามกติกาสากล ผู้เล่นต้องมีระยะห่างทาง สังคมและไม่คลุกคลีกันอยู่แล้ว ได้แก่ เทนนิส ขี่ม้า ยิงปืน ยิงธนู และต้องไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการ แข่งขันในกรณีของสโมสร คลับเฮาส์ หรือร้านอาหารในบริเวณดังกล่าวให้ปฏิบัติตาม ๑) ก. โดยต้อง ดําเนินการตามมาตรการควบคุมหลัก คือ (๑) ให้ทําความสะอาดโดยการเช็ดทําความสะอาดอุปกรณ์ เครื่อง เล่นออกกําลังกาย พื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนและหลังการจัดกิจกรรม และให้กําจัดขยะมูล ฝอยทุกวัน (๒) ให้เจ้าหน้าที่ ผู้ร่วมกิจกรรม ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า (๓) ให้มีจุด บริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ํายาฆ่าเชื้อโรค (๔ ให้เว้นระยะการทํากิจกรรมอย่างน้อย ๑ เมตร (๕) ให้ควบคุมจํานวนผู้ร่วมกิจกรรมมิให้แออัด หรือลดเวลาในการทํากิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จําเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน และดําเนินการตามมาตรการเสริม คือ (๑) มีมาตรการคัด กรองอาการป่วย ใช้ไอ จาม หรือเป็นหวัด สําหรับพนักงาน และผู้ใช้บริการ ก่อนเข้าสถานที่ (๒) ต้องไม่มี ผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการแข่งขัน (๓) ร้านอาหารในสโมสร คลับเฮาส์ ให้ปฏิบัติตามมาตรการเสริมในข้อ ค. ก () อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ได้ตามความเหมาะสมและ ความจําเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ก็ได้

ค. สวนสาธารณะ ลานพื้นที่กิจกรรมสาธารณะ สถานที่ออกกําลังกาย สนามกีฬา ลาน กีฬา ให้เปิดได้เฉพาะพื้นที่โล่งแจ้งเพื่อการเดิน วิ่ง หรือปั่นจักรยาน หรือการออกกําลังกายด้วยวิธีอื่นเป็น ส่วนบุคคล โดยต้องไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการแข่งขัน การละเล่น การแสดง โดยต้องดําเนินการตาม มาตรการควบคุมหลัก คือ (๑) ให้ทําความสะอาดโดยการเช็ดทําความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องเล่นออกกําลัง กาย พื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนและหลังการจัดกิจกรรม และให้กําจัดขยะมูลฝอยทุกวัน (๒) ให้เจ้าหน้าที่ ผู้ร่วมกิจกรรม ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า (๓) ให้มีจุดบริการล้างมือ ด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ํายาฆ่าเชื้อโรค (๔) ให้เว้นระยะการทํากิจกรรมอย่างน้อย ๒เมตร (๕) ให้ควบคุมจํานวนผู้ร่วมกิจกรรมมีให้แออัด หรือลดเวลาในการทํากิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จําเป็น โดยถือหลัก หลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน และดําเนินการตามมาตรการเสริม คือ (๑) มีมาตรการคัดกรองอาการ ป่วย ไช้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สําหรับผู้ใช้บริการ ก่อนเข้าสถานที่ ตามขีดความสามารถ (๒) งดจําหน่าย สินค้า งดรับประทานอาหารในสวนสาธารณะและสนามกีฬา (๓) ต้องไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการ แข่งขัน การละเล่น การแสดง (๔) อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มา ใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจําเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบาง พื้นที่ก็ได้

๓) กิจกรรมด้านอื่นๆ
ก. สถานที่ให้บริการดูแลรักษาสัตว์ สปา อาบน้ํา ตัดขน รับเลี้ยง หรือรับฝากสัตว์ โดยต้องดําเนินการตามมาตรการควบคุมหลัก คือ (๑) ให้ทําความสะอาดโดยการเขีดทําความสะอาดพื้น ผิวสัมผัสของร้าน อุปกรณ์ก่อนและหลังการให้บริการ และให้กําจัดขยะมูลฝอยทุกวัน (๒) ให้ช่างตัดขนและ ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าเสมอ (๓) ให้มีการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือ น้ํายาฆ่าเชื้อโรค (๔) ให้พิจารณาควบคุมจํานวนผู้ใช้บริการมิให้แออัด ด้วยการลดเวลาในการทํากิจกรรมให้ สั้นลงเท่าที่จําเป็น และงดรอรับบริการภายในร้าน โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน และ ดําเนินการตามมาตรการแสริม คือ (๑) คัดกรองอาการป่วย ใช้ไอ จาม หรือเป็นหวัดและงดให้บริการ เจ้าของสัตว์หรือสัตว์ที่มีอาการป่วยทางเดินหายใจ (๒) ให้ช่างตัดขนสัตว์และผู้ช่วย (ถ้ามี) สวม Face Shield ถุงมือ และเสื้อคลุมแขนยาวทุกครั้งที่ให้บริการ (๓) อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามด้วทาง โทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจําเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูล และรายงานในบางพื้นที่ก็ได้

๔.๔ การปฏิบัติศาสนกิจหรือศาสนพิธีในวันสําคัญทางศาสนาหรือตามประเพณีนิยม ณ ศาสน สถานใดให้เป็นไปตามดุลยพินิจและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ปกครองดูแลศาสนสถานนั้น ในกรณี มีมาตรการหรือคําแนะนําขององค์กรปกครองทางศาสนานั้นหรือของทางราชการเกี่ยวกับการป้องกันโรค ให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการหรือคําแนะนําดังกล่าว

๔.๕ ให้ประชาชนงตหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด เว้นแต่มีความจําเป็น ซึ่งต้อง แสดงเหตุผลและหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งต้องรับการตรวจคัดกรอง และต้องปฏิบัติตามมาตรการ ป้องกันโรคตามที่ทางราชการกําหนดอันอาจทําให้การเดินทางต้องใช้เวลามากกว่าปกติ และไม่ได้รับความ สะดวกในการเดินทาง

อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจําเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหาย อย่างร้ายแรงแก่สาธารณชน หรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา ๓๐ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙

ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับทุกพื้นที่ในเขตจังหวัดมหาสารคาม ตั้งแต่วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป จนกว่าจะได้มีประกาศเป็นอย่างอื่น และเมื่อบังคับใช้แล้ว บรรดาข้อบังคับ หรือ ข้อความอื่นใดของประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม ในส่วนที่ก้าหนดไว้แล้วก่อนหน้า นั้นซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน

ผู้ใดฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ จังหวัดมหาสารคาม มีความผิด ตามบทกําหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ แล้วแต่กรณี

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓

(นายเกียรติศักดิ์ จันทรา)
ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม
ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม
ผู้กํากับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดมหาสารคาม