Categories
ข่าว

ช้าแต่ได้ชัวร์!! กระทรวงแรงงาน แจงละเอียด จ่ายเงินชดเชยประกันสังคม มาตรา 33

กระทรวงแรงงาน ได้ออกมาชี้แจงการดำเนินจ่ายเงินชดเชยผู้ประกันตน กรณีว่างงานจากการระบาดของโรคโควิด-19

แฟนเพจ กระทรวงแรงงาน ได้ออกมาชี้แจงรายละเอียดการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ว่า กรณีการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เงินประกันสังคม ไม่เหมือนเงินของกระทรวงการคลัง ซึ่งมีความแตกต่างกันตรงที่

(1) มีกฎหมายคุ้มครองทางการเงิน

(2) เป็นเงินส่วนรวมของผู้ประกันตนทุกคน มีคนดูแล 4 ฝ่าย คือ

-ภาครัฐ คอยตรวจสอบตามกฎหมาย
– ผู้ประกันตนที่ต้องการได้เงิน 62 %
-นายจ้าง คอยตรวจสอบว่าจะใช้เงินส่วนนี้มาลดต้นทุนของตนอย่างไร
-ผู้ประกันตนที่ไม่ต้องการได้เงิน 62 % เพราะยังทํางานอยู่ หรือรับเงิน 75 % จึงคอยตรวจสอบยอดเงิน 62 % ที่จะจ่ายว่าเหมาะสมหรือมากไป ก็เท่ากับมีองค์กรลูกจ้างต่างๆ มากกว่า 500 กว่าแห่งคอยจับตาดู

(3) กระทรวงนําเงินนี้มาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของคนงาน ไม่ใช่นํามาเพื่อหาเสียง ดังนั้น จึงทําทุกอย่างให้ถูกต้อง การทํางาน ทุกอย่างต้องมีกฎเกณฑ์ครบถ้วน จึงจะแจกได้ คนมีชื่อประกันตน กับประกันสังคมแล้ว ไม่ใช่จะได้รับเงิน 62 % เสมอไป คนที่ประกันตน ตาม ม.39,40 ก็ไม่ได้รับ แต่ก็ขอมา คนกลุ่มนี้ต้องไปรับเงินกระทรวง การคลัง ซึ่งประกันสังคมได้ประสานงานให้แล้วกฎกระทรวงแรงงาน ให้จ่ายเงินได้วันศุกร์ที่ 17 เม.ย. 63 จนถึงปัจจุบัน (26 พ.ค. 63) กินเวลาในการจ่ายเงินให้ผู้ประกันตนได้ 1 เดือน 9 วัน

ผู้ประกันตนตาม ม.33 เท่านั้น ที่จะได้รับแต่ก็ยังมีเงื่อนไขอีก คือ

(1) ผู้ประกันตนตาม ม.33 ไม่ครบ 6 เดือน รับไม่ได้ มี 8 หมื่นกว่าคน ประกันสังคมส่งรายชื่อเป็นกรณีพิเศษให้คลังรับ คนละ 5 พันบาทไปล่วงหน้าแล้ว

(2) ผู้ประกันตนตาม ม.33 ครบ แต่ยังทํางานอยู่ ได้รับ 75 % ตามกฎหมายกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานอยู่แล้ว จึงไม่มีสิทธิรับ 62 %

(3) เงินจะจ่ายได้ต้องดูแล 3 ส่วน คือ

-ลูกจ้างขอมา
-นายจ้างรับรอง
-รัฐตรวจสอบ

กระทรวงแรงงานระบุว่า การจ่ายเงินอาจจะล่าช้าแต่ได้แน่นอน

ส่วนนายจ้างที่ไม่มาเซ็นต์ชื่อรับรองลูกจ้าง มีมาจากหลายสาเหตุ โดยทางกระทรวงแรงงานชี้แจงว่า นายจ้างบางรายก็ได้จ่ายเงินลูกจ้างอยู่แล้ว 75 % , ลูกจ้างไม่ได้หยุดงานจริง , ไม่รู้เรื่องว่า ต้องมารับรองลูกจ้าง , ลูกจ้างยื่นขอสิทธิ ลงเลขที่บัญชีผิด/เลขที่บัตรประชาชนผิด ฯลฯ

เรียบเรียงข้อมูลโดย CH7HD Social News
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : เฟซบุ๊ก Ministry of Labour, Kingdom of Thailand