Categories
ข่าว

ประกาศล่าสุด!! มหาสารคาม เป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูงทุกอําเภอ ยังปิดสนามชนไก่ งดชะลอเดินทางข้ามเขต

ความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม จากการประชุมครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2564 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม ฉบับที่ 2/2564 ลงวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2564 โดยให้ออกประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม ฉบับที่ 3/2564 เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) จังหวัดมหาสารคาม ฉบับนี้แทน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้


ข้อ 1 กําหนดให้จังหวัดมหาสารคามเป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูงทุกอําเภอ ทุกตําบล และกําหนดให้ นายอําเภอเป็นผู้บริหารพื้นที่ระดับอําเภอ

ข้อ 2 มาตรการป้องกันโรคของจังหวัดมหาสารคาม ให้ปฏิบัติดังนี้
2.1 ให้สถานศึกษาทุกแห่ง ทุกประเภทของรัฐและเอกชน รวมถึงสถาบันกวดวิชา ดําเนินการป้องกันควบคุมโรคตามมาตรการทางด้านสาธารณสุขโดยเคร่งครัดอย่างเต็มขีดความสามารถ เพื่อลดความเสี่ยง ต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19)
2.2 ให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนทุกแห่ง ดําเนินการป้องกัน ควบคุมโรค ตามมาตรการทางด้านสาธารณสุขโดยเคร่งครัดอย่างเต็มขีดความสามารถและขอให้ใช้มาตรการลดความแออัด โดยเหลื่อมเวลาการทํางาน หรือ Work From Home อย่างเต็มขีดความสามารถ
2.3 ให้ตลาด ตลาดนัด ตลาดสดทั้งของภาครัฐและเอกชน ตลาดนัดโคกระบือ ทุกแห่ง ดําเนินการป้องกันควบคุมโรคตามมาตรการทางด้านสาธารณสุขโดยเคร่งครัดอย่างเต็มขีดความสามารถ
2.4 ให้ประชาชนสวมหน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่างเป็นประจําและ ลงทะเบียนด้วยแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” ทุกครั้งที่เข้าไปในสถานที่หรือร่วมกิจกรรมที่มีการรวมตัว ของประชาชนจํานวนมาก และใช้แอปพลิเคชัน “หมอชนะ” เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการได้รับ แจ้งข้อมูล ข้อแนะนําการปฏิบัติตนหรือคําเตือนเพื่อลดความเสี่ยงหรือเลี่ยงจากการติดเชื้อ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งบุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดเพื่อให้การดําเนินการสอบสวนโรคและการเฝ้าระวังโรค เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ควบคู่กับการใช้แอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” เพื่อให้การดําเนินการได้ผลสัมฤทธิ์ด้วยดี


2.5 ให้มีการค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม
ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุด ให้ไปรายงานตัว ณ สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน เพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประเมินอาการและความเสี่ยงในการติดเชื้อ และให้กักกันตัวเองที่บ้าน 14 วัน
สําหรับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมและพื้นที่เฝ้าระวังสูง (นอกจังหวัดมหาสารคาม) ให้ไปรายงานตัว ณ สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านเพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประเมินอาการและ ความเสี่ยงในการติดเชื้อ และขอความร่วมมือเฝ้าสังเกตอาการตัวเองที่บ้าน 14 วัน
2.6 ให้มีการจัดตั้งด่านในเส้นทางหลัก จํานวน 5 ด่าน เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19)
2.7 ให้ทุกอําเภอจัดทีมหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ (CDCU) และชุดปฏิบัติการ เคลื่อนที่เร็วให้พร้อมปฏิบัติงานตลอดเวลา
2.8 ให้ประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดเว้นแต่มีกรณีเหตุจําเป็น ซึ่งต้องแสดงเหตุผลและหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมทั้งเข้ารับการตรวจคัดกรองและต้องปฏิบัติตาม มาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนด อันอาจทําให้ไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางและทําให้ ต้องใช้ระยะเวลาการเดินทางมากกว่าปกติ และมีแนวทางปฏิบัติสําหรับผู้ที่เดินทางเข้า-ออกพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสมุทรสาคร ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ดังนี้


2.8.1 ผู้ประสงค์เดินทางทั่วไป ให้แสดง “เอกสารรับรองความจําเป็น” โดยยื่นคําขอต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่
กรณีผู้ประสงค์จะเดินทางทั่วไป ที่อยู่นอกพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 5 จังหวัด (จังหวัดสมุทรสาคร ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด) สามารถยื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่ของตนได้ เพื่อใช้ “เอกสารรับรองความจําเป็น” ในการเดินทางทั้งไปและกลับ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยให้แสดง “เอกสารรับรองความจําเป็น” ฉบับดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ ประจําจุดตรวจหรือจุดสกัด

2.8.2 ผู้ประสงค์จะเดินทางซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1) ผู้ขนส่งสินค้าเพื่อประโยชน์และการดํารงชีวิตของประชาชน เช่น อาหาร ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ สินค้าอุปโภคบริโภค น้ํามันเชื้อเพลิง วัสดุ/สินค้าอุตสาหกรรม ไปรษณียภัณฑ์ พัสดุภัณฑ์ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น และสินค้าเพื่อการนําเข้าหรือส่งออก
2) ผู้ปฏิบัติงานในกิจการ/กิจกรรมเพื่อประโยชน์ด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การสื่อสารโทรคมนาคม การก่อสร้าง การซ่อมบํารุงต่างๆ และพนักงานที่ทํางานในสถานประกอบการ/โรงงาน
3) ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ การธนาคาร การศึกษา การขนส่งประชาชน/บุคคล ไปสู่ที่เอกเทศเพื่อกักกันตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ
4) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามข้อกําหนด ประกาศ หรือคําสั่งต่างๆ ของทางราชการ ให้แสดง “เอกสารรับรองการปฏิบัติหน้าที่” โดยยื่นคําขอต่อผู้ประกอบการ/นายจ้าง/ บริษัท/หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ แล้วแต่กรณี

2.8.3 บุคคลที่มีความจําเป็นต้องติดต่อราชการ ให้แสดง “เอกสารรับรองการติดต่อราชการ” โดยยื่นคําขอต่อหัวหน้าส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่บุคคลได้ไปติดต่อราชการ

ทั้งนี้ ให้ผู้ที่ประสงค์จะเดินทาง ติดตั้งและใช้ระบบแอปพลิเคชัน “หมอชนะ”


ข้อ 3 ให้ปิดสถานที่ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ดังนี้ (1) สนามชนไก่ (2) สนามกัดปลา (3) สนามซ้อมชนไก่ทุกแห่งในจังหวัดมหาสารคาม

ข้อ 4 ให้สถานบริการหรือสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ โรงภาพยนตร์ ร้านเกมส์ ร้านสนุกเกอร์ ร้านอินเตอร์เน็ต ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผม และ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (นวดเพื่อสุขภาพ นวดเพื่อเสริมความงามและสปา) ทุกแห่ง ในจังหวัดมหาสารคามเข้มงวดการดําเนินการป้องกันควบคุมโรคตามมาตรการทางด้านสาธารณสุข โดยเคร่งครัดอย่างเต็มขีดความสามารถ ทั้งนี้ ให้สถานบริการ หรือสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้าย สถานบริการปิดบริการภายในเวลา 24:00 นาฬิกา

ข้อ 5 ให้งดการเคลื่อนย้ายของแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ กัมพูชา ลาว และเมียนมา ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม โดยให้นายจ้าง สถานประกอบการที่จ้างแรงงานต่างด้าว กํากับ ดูแลและควบคุมแรงงาน ต่างด้าวมิให้แรงงานต่างด้าวเคลื่อนย้าย เดินทางเข้า-ออกนอกเขตจังหวัด
ห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ กัมพูชา ลาว และเมียนมา ในทุกกรณี ทั้งเข้ามา และออกจากจังหวัดมหาสารคาม

ข้อ 6 ให้งดการจัดกิจกรรมที่มีประชาชนเข้าร่วมเป็นจํานวนมาก หากมีเหตุผลความจําเป็นอย่างยิ่ง ให้ขออนุญาตต่อนายอําเภอท้องที่ พร้อมทั้งแสดงเอกสารแผนการจัดงานและดําเนินการป้องกันควบคุมโรค ตามมาตรการทางด้านสาธารณสุขโดยเคร่งครัดอย่างเต็มขีดความสามารถและให้พนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่นั้น ติดตามการปฏิบัติตามมาตรการทางด้านสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด เว้นแต่เป็นการดําเนินการโดยพนักงาน เจ้าหน้าที่

อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจําเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหาย อย่างร้ายแรงแก่สาธารณชน หรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับทุกพื้นที่ของจังหวัดมหาสารคาม ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะได้มีประกาศเป็นอย่างอื่น และเมื่อบังคับใช้แล้ว บรรดาข้อบังคับหรือข้อความอื่นใด ของประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม ในส่วนที่กําหนดไว้แล้วก่อนหน้านั้นซึ่งขัดหรือ แย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน

หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ อาจเป็นความผิดตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และอาจเป็นความผิด ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และอาจได้รับโทษตามมาตรา 18 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ตามข้อกําหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 1)

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ประกาศ ณ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2564

(นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ)
ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม
ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม
ผู้กํากับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดมหาสารคาม