Categories
ข่าว

เข้มขึ้น!! มหาสารคาม ประกาศ พื้นที่ควบคุมโควิด ปิดสถานบริการ งดดื่มสุราในร้านอาหาร งด/ชะลอเดินทางข้ามเขต

ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด มหาสารคาม ฉบับที่ 5/2564 เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) จังหวัดมหาสารคาม เป็นการเพิ่มเติม มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ กําหนดให้พื้นที่ อําเภอเมืองมหาสารคาม และตําบลท่าขอนยาง ตําบลขามเรียง อําเภอ กันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด และให้นายอําเภอเมืองมหาสารคามและนายอําเภอ กันทรวิชัย เป็นผู้รับผิดชอบบริหารพื้นที่ในการปกครอง

ข้อ ๒ มาตรการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ในพื้นที่ ควบคุมสูงสุด เฉพาะอําเภอเมืองมหาสารคาม และตําบลท่าขอนยาง ตําบลขามเรียง อําเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ให้ปฏิบัติดังนี้

๒.๑ ให้ปิดสถานที่ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ในพื้นที่ ดังนี้ (๑) สนามชนไก่ (๒) สนามกัดปลา (๓) สนามซ้อมชนไก่
๒.๒ ขอความร่วมมือปิดสถานที่ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ในพื้นที่ดังนี้ คือ สถานบริการหรือสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ ร้านเกม ร้านอินเตอร์เน็ต ร้านสนุกเกอร์ และบ่อตกกุ้ง

๒.๓ ขอความร่วมมือร้านอาหาร สถานที่จําหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม จัดระเบียบการเข้าใช้บริการ การจํากัดจํานวนผู้นั่งบริโภคต่อโต๊ะ ดําเนินการป้องกันควบคุมโรคตามมาตรการทางด้านสาธารณสุข โดยเคร่งครัดอย่างเต็มขีดความสามารถ โดยสามารถบริโภคในร้านได้ไม่เกิน ๒๓.๐๐ นาฬิกา งดการดื่มสุรา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน
๒.๔ ขอความร่วมมือร้านค้าหรือสถานประกอบการขายสุราทุกประเภทที่ได้รับอนุญาตให้ ขายสุราตามกฎกระทรวงอนุญาตขายสุรา พ.ศ. ๒๕๖๐ จําหน่ายสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มใดๆ ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทุกประเภท ในเวลา ๑๑.๐๐-๑๔.๐๐ นาฬิกา และ ๑๗.๐๐-๒๓.๐๐ นาฬิกา

๒.๕ ขอความร่วมมือสถานศึกษาทุกแห่ง ทุกประเภทของรัฐและเอกชน รวมทั้งสถาบันกวดวิชา ใช้รูปแบบการสอนแบบออนไลน์ตามความเหมาะสม และให้ดําเนินการป้องกันควบคุมโรคตามมาตรการ ทางด้านสาธารณสุขโดยเคร่งครัดอย่างเต็มขีดความสามารถ

๒.๖ ขอความร่วมมือการประชุม สัมมนา จัดเลี้ยง การแจกจ่ายอาหาร/สิ่งของ เน้นกํากับการ ใช้แอปพลิเคชั่นไทยชนะและหมอชนะ ก่อนและหลังร่วมกิจกรรม โดยจํากัดจํานวนผู้ร่วมกิจกรรมไม่เกิน ๑๐๐ คน ให้ดําเนินการป้องกันควบคุมโรคตามมาตรการทางด้านสาธารณสุขโดยเคร่งครัดอย่างเต็มขีดความสามารถ และงดดื่มสุรา งดการแสดงดนตรีที่มีการเต้นรํา

๒.๗ ขอความร่วมมือห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ โดยให้ดําเนินการป้องกันควบคุมโรคตามมาตรการทางด้านสาธารณสุข โดยเคร่งครัดอย่างเต็มขีดความสามารถ และงดกิจกรรมที่มีผู้ร่วมกิจกรรมเป็นจํานวนมากในสถานที่

๒.๘ ขอความร่วมมือศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม จัดนิทรรศการ โดยให้ดําเนินการป้องกัน ควบคุมโรคตามมาตรการทางด้านสาธารณสุขโดยเคร่งครัดอย่างเต็มขีดความสามารถ และให้จํากัดจํานวน ผู้ร่วมกิจกรรมตามขนาดพื้นที่ ไม่น้อยกว่า ๑ ตารางเมตรต่อคน

๒.๙ แรงงานต่างด้าว ให้จํากัดการเดินทางและเคลื่อนย้ายและใช้แอปพลิเคชั่นหมอชนะ กรณีมีความจําเป็นในการเดินทางและเคลื่อนย้าย ให้ขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด

๒.๑๐ ขอความร่วมมือ สปา นวดแผนไทย จํากัดจํานวนผู้ใช้บริการตามขนาดพื้นที่ โดยให้ ดําเนินการป้องกันควบคุมโรคตามมาตรการทางด้านสาธารณสุขโดยเคร่งครัดอย่างเต็มขีดความสามารถ

๒.๑๑ ขอความร่วมมือ สนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อการออกกําลังกาย การเล่นกีฬา การฝึกซ้อม การแข่งขัน หรือเพื่อการเรียนการสอนในทุกประเภทกีฬา จัดการแข่งขันกีฬาให้เป็นลักษณะของการถ่ายทอด การแข่งขันโดยไม่มีผู้ชมอยู่ในสนามแข่งขัน และการฝึกซ้อมที่มีการป้องกันโรคส่วนบุคคล ซึ่งผู้จัดการแข่งขัน ต้องดําเนินการตามขั้นตอนและวิธีการที่ทางราชการกําหนด โดยให้ดําเนินการป้องกันควบคุมโรคตาม มาตรการทางด้านสาธารณสุขโดยเคร่งครัดอย่างเต็มขีดความสามารถ

ข้อ ๓ กําหนดให้พื้นที่อําเภอแกดํา อําเภอโกสุมพิสัย อําเภอกันทรวิชัย (ยกเว้นตําบลท่าขอนยาง และตําบลขามเรียง) อําเภอเชียงยืน อําเภอบรบือ อําเภอนาเชือก อําเภอพยัคภูมิพิสัย อําเภอวาปีปทุม อําเภอนาดูน อําเภอยางสีสุราช อําเภอกุดรัง อําเภอชื่นชม เป็นพื้นที่เฝ้าระวัง และให้นายอําเภอท้องที่ เป็นผู้รับผิดชอบบริหารพื้นที่ในการปกครอง

ข้อ ๔ มาตรการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ในพื้นที่เฝ้าระวัง ให้ปฏิบัติดังนี้

๔.๑ ให้ปิดสถานที่ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ในพื้นที่ ดังนี้ (๑) สนามชนไก่ (๒) สนามกัดปลา (๓) สนามซ้อมชนไก่
๔.๒ ให้สถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ สามารถเปิดบริการได้โดยจํากัดเวลาตามที่กฎหมายกําหนด การจําหน่ายสุรา/ดื่มสุราในร้านได้โดยจํากัด เวลาตามที่กฎหมายกําหนด และแสดงดนตรี เต้นรําได้ เน้นการเว้นระยะห่าง โดยให้ดําเนินการป้องกัน ควบคุมโรคตามมาตรการทางด้านสาธารณสุขโดยเคร่งครัดอย่างเต็มขีดความสามารถ
๔.๓ ให้ร้านอาหาร สถานที่จําหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม เปิดบริการได้โดยจํากัดเวลาตาม ที่กฎหมายกําหนด สามารถบริโภคในร้านได้ตามปกติ โดยจัดระเบียบการเข้าใช้บริการ และจํากัดจํานวน ผู้นั่งบริโภคต่อโต๊ะ และให้ดําเนินการป้องกันควบคุมโรคตามมาตรการทางด้านสาธารณสุขโดยเคร่งครัด อย่างเต็มขีดความสามารถ
๔.๔ ให้เน้นการตรวจคัดกรอง ติดตามกํากับกรณีคนไทยเดินทางข้ามจังหวัดมาจากพื้นที่ ควบคุมสูงสุด
๔.๕ ให้สปา นวดแผนไทย เปิดบริการได้โดยให้จํากัดจํานวนผู้ใช้บริการตามขนาดพื้นที่ และให้ดําเนินการป้องกันควบคุมโรคตามมาตรการทางด้านสาธารณสุขโดยเคร่งครัดอย่างเต็มขีดความสามารถ
๔.๖ ให้สนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อการออกกําลังกาย การเล่นกีฬา การฝึกซ้อม การแข่งขัน หรือ เพื่อการเรียนการสอนในทุกประเภทกีฬา สามารถเปิดดําเนินการได้ตามปกติ มีการแข่งขันกีฬาได้โดยให้มี ผู้ชมได้ไม่เกินเกณฑ์ที่กําหนด และให้ดําเนินการป้องกันควบคุมโรคตามมาตรการทางด้านสาธารณสุข โดยเคร่งครัดอย่างเต็มขีดความสามารถ

ข้อ ๕ ให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนทุกแห่ง ดําเนินการป้องกันควบคุมโรคตาม มาตรการทางด้านสาธารณสุขโดยเคร่งครัดอย่างเต็มขีดความสามารถ และขอให้ใช้มาตรการลดความแออัด โดยเหลื่อมเวลาการทํางาน หรือ Work From Home อย่างเต็มขีดความสามารถ

ข้อ ๖ ให้ตลาด ตลาดนัด ตลาดสดทั้งของภาครัฐและเอกชน ตลาดนัดโคกระบือ ทุกแห่ง ดําเนินการป้องกันควบคุมโรคตามมาตรการทางด้านสาธารณสุขโดยเคร่งครัดอย่างเต็มขีดความสามารถ

ข้อ ๗ ให้ประชาชนสวมหน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่างเป็นประจําและ ลงทะเบียนด้วยแอปพลิเคชันไทยชนะ ทุกครั้งที่เข้าไปในสถานที่หรือร่วมกิจกรรมที่มีการรวมตัวของ ประชาชนจํานวนมาก และใช้แอปพลิเคชันหมอชนะ เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการได้รับแจ้งข้อมูล ข้อแนะนําการปฏิบัติตนหรือคําเตือนเพื่อลดความเสี่ยงหรือเลี่ยงจากการติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่ เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดเพื่อให้การดําเนินการสอบสวนโรคและการเฝ้าระวังโรคเป็นไปด้วย ความรวดเร็ว ควบคู่กับการใช้แอปพลิเคชันไทยชนะ เพื่อให้การดําเนินการได้ผลสัมฤทธิ์ด้วยดี

ข้อ ๘ ให้มีการค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม
ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุด ให้ไปรายงานตัว ณ สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน เพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประเมินอาการและความเสี่ยงในการติดเชื้อ และให้กักกันตัวเองที่บ้าน ๑๔ วัน
สําหรับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมและพื้นที่เฝ้าระวังสูง ให้ไปรายงานตัว ณ สถานบริการ สาธารณสุขใกล้บ้านเพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประเมินอาการและความเสี่ยงในการติดเชื้อ และขอความร่วมมือ เฝ้าสังเกตอาการตัวเองที่บ้าน ๑๔ วัน

ข้อ ๙ ให้มีการจัดตั้งด่านในเส้นทางหลัก จํานวน ๕ ด่าน เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19)

ข้อ ๑๐ ให้ทุกอําเภอจัดทีมหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ (CDCU) และชุดปฏิบัติการ เคลื่อนที่เร็วให้พร้อมปฏิบัติงานตลอดเวลา

ข้อ ๑๑ ให้ประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดเว้นแต่มีกรณีเหตุจําเป็น ซึ่งต้องแสดงเหตุผลและหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมทั้งเข้ารับการตรวจคัดกรองและต้องปฏิบัติตาม มาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนด อันอาจทําให้ไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางและทําให้ ต้องใช้ระยะเวลาการเดินทางมากกว่าปกติ
และมีแนวทางปฏิบัติสําหรับผู้ที่เดินทางเข้า-ออกพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (จังหวัดสมุทรสาคร) ดังนี้
๑๑.๑ ผู้ประสงค์เดินทางทั่วไป ให้แสดงเอกสารรับรองความจําเป็น โดยยื่นคําขอต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่
กรณีผู้ประสงค์จะเดินทางทั่วไป ที่อยู่นอกพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จังหวัด สมุทรสาคร) สามารถยื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่ของตนได้ เพื่อใช้เอกสารรับรองความจําเป็น ในการเดินทางทั้งไปและกลับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยให้แสดง เอกสารรับรองความจําเป็น ฉบับดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ประจําจุดตรวจหรือจุดสกัด
๑๑.๒ ผู้ประสงค์จะเดินทางซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ดังต่อไปนี้
๑) ผู้ขนส่งสินค้าเพื่อประโยชน์และการดํารงชีวิตของประชาชน เช่น อาหาร ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ สินค้าอุปโภคบริโภค น้ํามันเชื้อเพลิง วัสดุ/สินค้าอุตสาหกรรม ไปรษณียภัณฑ์ พัสดุภัณฑ์ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น และสินค้าเพื่อการนําเข้าหรือส่งออก
๒) ผู้ปฏิบัติงานในกิจการ/กิจกรรมเพื่อประโยชน์ด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การสื่อสาร โทรคมนาคม การก่อสร้าง การซ่อมบํารุงต่างๆ และพนักงานที่ทํางานในสถานประกอบการ/โรงงาน
๓) ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ การธนาคาร การศึกษา การขนส่งประชาชน/บุคคล ไปสู่ ที่เอกเทศเพื่อกักกันตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ

๔) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามข้อกําหนด ประกาศ หรือคําสั่งต่างๆ ของทางราชการ
ให้แสดงเอกสารรับรองการปฏิบัติหน้าที่ โดยยื่นคําขอต่อผู้ประกอบการ/นายจ้าง/บริษัท/ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ แล้วแต่กรณี
๑๑.๓ บุคคลที่มีความจําเป็นต้องติดต่อราชการ ให้แสดงเอกสารรับรองการติดต่อราชการ โดยยื่นคําขอต่อหัวหน้าส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่บุคคลได้ไปติดต่อราชการ
ทั้งนี้ ให้ผู้ที่ประสงค์จะเดินทาง ติดตั้งและใช้ระบบแอปพลิเคชันหมอชนะ

ข้อ ๑๒ มาตรการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยความ เห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดของจังหวัดต้นทางและจังหวัดปลายทางแล้วแต่กรณี สามารถ พิจารณาอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวเดินทางเพื่อการทํางานข้ามจังหวัดได้ โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการ ป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนดโดยเคร่งครัดอย่างเต็มขีดความสามารถ เพื่อให้การบังคับใช้มาตรการ ควบคุมการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวเพื่อการทํางานข้ามเขตจังหวัดในแต่ละเขตพื้นที่เป็นไป อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

ข้อ ๑๓ การดําเนินการตามมาตรการป้องกันโรคและการจัดระเบียบ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มี อํานาจเข้าตรวจสอบการใช้อาคารสถานที่ และการดําเนินการของเจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ให้เป็นไป ตามแนวทางมาตรการควบคุมแบบบูรณาการ มาตรการป้องกันโรค รวมทั้งการจัดระเบียบและระบบต่างๆ ที่ทางราชการกําหนด หากพบการกระทําที่อาจมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค พนักงานเจ้าหน้าที่ อาจให้คําแนะนํา ตักเตือน ห้ามปราม และมีอํานาจกําหนดช่วงระยะเวลา เพื่อให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ เจ้าของ หรือผู้จัดการสถานที่ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขเพื่อป้องกันมิให้มีการแพร่ระบาดของโรค รวมทั้ง เสนอให้ผู้มีอํานาจตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ มีคําสั่งปิดสถานที่ในพื้นที่รับผิดชอบไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้ ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัด มีคําสั่งปิดสถานที่ไว้เป็นการชั่วคราว เมื่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ เจ้าของ หรือ ผู้จัดการสถานที่ได้ดําเนินการให้เป็นไปตามแนวทางมาตรการควบคุมแบบบูรณาการ มาตรการป้องกันโรค รวมทั้งการจัดระเบียบและระบบต่างๆ ที่ทางราชการกําหนดแล้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจสั่งให้ สถานที่ดังกล่าวเปิดดําเนินการได้

อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจําเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหาย อย่างร้ายแรงแก่สาธารณชน หรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้งตาม มาตรา ๓๐ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙

ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับในทุกพื้นที่อําเภอของจังหวัดมหาสารคาม ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป จนกว่าจะได้มีประกาศเป็นอย่างอื่น และเมื่อบังคับใช้แล้ว บรรดาข้อบังคับหรือ ข้อความอื่นใดของประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม ในส่วนที่กําหนดไว้แล้วก่อนหน้านั้น ซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน

หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ อาจเป็นความผิดตามมาตรา ๕๑ แห่ง พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และอาจเป็นความผิดตาม มาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และอาจได้รับโทษตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ ตามข้อกําหนดตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑)

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔

ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔

(นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ)
ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม
ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม
ผู้กํากับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดมหาสารคาม