Categories
ข่าว

แชร์ไปให้โลกรู้ “นางรำ 6,232 คน รำสักการะบูชาพระรัตนวงษา ” ครบรอบ 306 ปีเมืองศรีภูมิ

“232 ปี แห่งการถึงแก่พิราลัย พระรัตนวงษา (เซียง) พระประเทศราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์”
“พระรัตนวงษา” มิใช่นามบุคคล หาก แต่ เป็น ราชทินนาม หมายถึง นาม อันที่พระมหากษัตริย์ โปรดเกล้าพระราชทานให้ ส่วน คำว่า “พระ” นำหน้า นั้น เป็น ชั้น บรรดาศักดิ์ ของ เจ้านาย ขุนนางสยามในสมัยก่อน

พระรัตนวงษา เป็น บรรดาศักดิ์ พระประเทศราช แก่ ผู้ครองเมืองสุวรรณภูมิ นับแต่ต้นกรุงธนบุรี โดย ราชทินนาม “รัตนวงษา” นั้น หมายถึง วงษาหรือสายตระกูล อันเกิดแต่ “ปฐมวงษ์เจ้าแก้วมงคล” ผู้เป็นเจ้าเมืองท่งศรีภูมิ องค์แรก ที่ระลึกถึงกาลในอนาคต ว่า “พระ หรือพระยา ผู้ครองเมืองสุวรรณภูมิ” นั้น สืบสายเลือด จาก “เจ้าแก้วมงคล”

ในการปกครองของเมืองในราชอาณาจักรล้านช้าง รวมทั้ง ราชอาณาจักรล้านนา นั้น ตามธรรมเนียม จะใช้หลัก “อาญาสี่” อันหมายถึง ระบบการปกครองดั้งเดิมที่ถูกจารึกอยู่ใน คัมภีร์พระธรรมศาสตร์หลวง หรือคัมภีร์กฎหมายโบราณของลาวในสมัยสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช แห่งเวียงจันทน์ โดย ตำแหน่งข้าราชการบูราณ (โบราณ) นับจาก เจ้าแผ่นดิน หรือ เจ้าเมืองแล้ว แบ่ง เป็น ฝ่ายต่างๆ คือ ฝ่ายแผ่นดิน, เมืองแสน, เมืองจันทร์ เมืองขวา, เมืองกลาง, เมืองซ้าย และตำแหน่งอื่นๆสังกัด ตำแหน่งหลักดังกล่าว โดยฝ่ายแผ่นดิน มี 3 ตำแหน่ง ประกอบด้วย เจ้าอุปฮาด (อุปฮาด, อัคฮาด หรือ วรราช ตามแต่เมืองใหญ่ เมืองเล็ก ) ( ในศักดินาสยาม เรียก วังหน้า ), เจ้าราชวงศ์ (ราชวงศ์, อัควงษ์ หรือ วรวงษ์ ตามแต่เมืองใหญ่ เมืองเล็ก ) เจ้าโฮงเหนือ หรือเจ้าเฮือนเหนือ ( ในศักดินาสยาม เรียก วังหลัง ), เจ้าราชบุตร (ราชบุตร, อัคบุตร หรือ วรบุตร ตามแต่เมืองใหญ่ เมืองเล็ก ) บางครั้งเรียกว่า เจ้าโฮงใต้ หรือเจ้าเฮือนใต้

เจ้าเซียง หลังการติดตามพระอัยกา (เจ้าแก้วมงคล) ในช่วงบูรณองค์พระธาตุพนม และหนีลงมาทางใต้ จนสถาปนา ราชอาณาจักรจำปาสัก พร้อมเมืองบริวาร รวมทั้งเมืองทุ่งศรีภูมิ ในปี พุทธศักราช 2256 นั้น เจ้าเซียง มีการได้รับสถาปนาพระยศในแต่ละยุค ในบทบาทฝ่ายแผ่นดิน ระหว่างปี พุทธศักราช 2256 – 2335 เป็นดังนี้

“เจ้าเซียง” ผู้รับการสถาปนาและรับพระราชทานทินนาม เป็น “พระรัตนวงษา” ท่านแรก ของเมืองสุวรรณภูมิ จนเมืองสุวรรณภูมิ มีพระรัตนวงษา ที่เป็นทายาท เจ้าเซียง สืบต่อเป็นเจ้าเมือง สลับกับ ทายาท ของ “เจ้าสุทนต์มณี” ผู้เป็น อาว์ ถึง 11 ท่าน (เจ้าเมืองนับ 14 ท่าน) โดย มีอย่างน้อย ๒ ท่าน ได้รับการสถาปนาบรรดาศักดิ์ เป็น “พระยา” รัตนวงษา โดยทายาทฝ่าย เจ้าสุทนต์มณี ได้แก่ ต้นตระกูล สุวรรณธาดา และเครือข่ายทายาท เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ในยุคปัจจุบันด้วย ส่วน ทายาทของเจ้าเซียงนั้น เป็น ต้นตระกูล “รักษาเมือง”, “พิทักษ์เขื่อนขันธุ์”, “หนองหานพิทักษ์” ซึ่ง เป็น สายตระกูล ทายาทสายตรงของ เจ้าเซียง ที่ เป็น เจ้าเมืองหนองหาน ท่านแรก ในปี พุทธศักราช 2330 คือ พระพิทักษ์เขื่อนขันธ์ (ท้าวเพ) บุตรคนโต เจ้าเซียง นั่นเอง โดยผังปฐมวงษ์เจ้าแก้วมงคล อันมี “พระรัตนวงษา” เซียง เป็น ทายาท ในช่วงต้น

อำเภอสุวรรณภูมิและเทศบาลสุวรรณภูมิ ร่วมกับ สมาคมพ่อค้าอำเภอสุวรรณภูมิ จึงได้จัดงาน “รำลึก 232 ปี การพิราลัยพระรัตนวงศา (ท้าวเซียง) จึงเชิญท่านไปร่วมตักบาตร และ ขบวนฟ้อนรำ แห่บวงสรวง สาว สาว สุภาพสตรี นางรำจากทุกหมู่บ้าน ใน อ.สุวรรณภูมิ จำนวนกว่า 6,232 คน บนเส้นทางความเป็นมาของ “ทุ่งศรีภูมิ” อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ในวันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2562 โดยมีการหนดการดังนี้