Categories
ข่าว

ราชกิจจาฯ ประกาศแล้ว ผ่อนคลายมาตรการควบคุม เพื่อไม่ให้กระทบต่อการดํารงชีวิต-อาชีพ ประชาชน

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป เป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 นั้น

โดยที่สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกเดือนเมษายน 2564 ได้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่และแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่พบในกลุ่มผู้สัมผัสผู้ป่วยยืนยันต่อเนื่อง จากกลุ่มการแพร่ระบาดในสถานบันเทิง การเดินทางจากพื้นที่เสี่ยง และการติดเชื้อต่อเนื่องจากสถานที่ เฉพาะกลุ่ม เช่น ชุมชนแออัด โรงงาน สถานที่พักของแรงงานต่างด้าว หรือตลาด ส่งผลให้มีจํานวน ผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้ป่วยสะสมเพิ่มขึ้น และมีผู้เสียชีวิตเป็นจํานวนมากอันส่งผลกระทบต่อ ความปลอดภัยของประชาชนโดยรวม ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้กําหนดมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด อย่างเข้มงวดมาแล้วระยะหนึ่งอันเป็นกรณีที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อให้สถานการณ์แพร่ระบาด คลี่คลายโดยเร็ว จากการประเมินสถานการณ์คาดว่าแม้การระบาดจะยังคงมีอยู่อีกระยะหนึ่ง แต่จากการที่รัฐบาลได้ดําเนินมาตรการตรวจคัดกรองเชิงรุกเพิ่มขึ้นประกอบกับการเร่งรัดดําเนินการ ฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน ซึ่งหากได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วนจะช่วยให้สถานการณ์ มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเป็นลําดับ

จึงสมควรผ่อนคลายมาตรการควบคุมบางกรณีเพื่อมิให้ส่งผลกระทบ ต่อการดํารงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนเกินสมควร โดยกําหนดมาตรการควบคุมที่จําเป็น ตามระดับของพื้นที่สถานการณ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบัน เพื่อให้การดําเนินชีวิตของประชาชนและการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม สามารถดําเนินไปได้อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับมาตรการด้านสาธารณสุข

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกําหนดและข้อปฏิบัติขึ้นไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ข้อปฏิบัติในการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การสวมหน้ากากอนามัย เมื่ออยู่นอกเคหสถานหรือเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ การจัดกิจกรรมซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากและมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่ายที่ดำเนินการ ในกรณีที่กลุ่มบุคคลที่จำเป็นต้องเข้าประชุมอยู่ในสถานที่หนึ่งที่ใดเป็นระยะเวลานานและต่อเนื่องหลายชั่วโมง ซึ่งการสวมหน้ากากอาจไม่สะดวกและเป็นอุปสรรคต่อการทำหน้าที่ในการประชุม หากการประชุมกำหนดมาตรการคัดกรองตามมาตรการป้องกันโรค เว้นระยะห่างในการประชุม ให้ผู้เข้าประชุมสวมหน้ากากอนามัย รวมทั้งแสดงใบรับรองผลการตรวจไม่มีความเสี่ยงติดเชื้อ โดยให้ผู้ควบคุมการประชุมกำหนดให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวต้องสวมหน้าตลอดการประชุม แต่อาจผ่อนผันเฉพาะช่วงอภิปรายหรือแสดงความเห็นในที่ประชุมได้ตามควำมเหมาะสมแห่งสภาพการณ์และความสมควรแก่เหตุ

ข้อ 2 การปรับระดับมาตรการ 1.พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) จากเดิม 6 จังหวัด ลดเหลือเพียง 4 จังหวัด คือ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ มาตรการจะปรับคือนั่งกินอาหารที่ร้านได้ไม่เกิน 25% เปิดเวลาไม่เกิน 21.00 น. และขายกลับบ้านไม่เกิน 23.00 น. ห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน

2.พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) จาก 45 จังหวัด ลดเหลือ 17 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ตาก นครปฐม นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ยะลา ระนอง ระยอง ราชบุรี สมุทรสาคร สงขลา และสุราษฎร์ธานี สามารถนั่งกินอาหารที่ร้านได้ถึง 23.00 น. ห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน

และ 3.พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) จาก 26 จังหวัดเพิ่มเป็น 56 จังหวัด คือ จังหวัดที่เหลือ สามารถนั่งกินอาหารที่ร้านได้ตามปกติ ห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 17 พ.ค.2564 เป็นต้นไป