Categories
ข่าว

มันสมควรมั้ย!! “บิ๊กตู่” เสียใจ เจอประชาชนด่า ลั่น! ทำงานไม่ได้นอน – ทุ่มอีก 7,500 ล้าน เยียวยา คนงาน-ร้านอาหาร คนละ2,000บาท

วันที่ 28 มิ.ย.64 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังเรียกประชุมคณะกรรมการบริหารเศรษฐกิจในช่วงสถานการณ์โควิด-19 หรือศบศ. เป็นการด่วน เพื่อหามาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจว่า

ที่ประชุมมีมติช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศในฉบับที่ 25 ในระยะหนึ่งเดือน ที่ได้ประกาศออกมาเบื้องต้นจะมีการชดเชยให้ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมจำนวน 50% โดยมีงบประมาณที่ได้เตรียมไว้แล้ว ทั้งหมดประมาณ 7.5 พันล้านบาท ซึ่งมีประชาชนเดือดร้อนในภาคแรงงาน 6 จังหวัด กทม.และปริมณฑล โดยจะแก้ปัญหาตรงนี้ก่อน ด้วยการจ่ายค่าแรงให้ 50% เป็นเวลา 1 เดือน จากเหตุสุดวิสัย

ส่วนมาตรการอื่นจะดำเนินการต่อไปเช่นกันให้ทั่วถึงในหลายกิจการ ที่อาจจะมีมาตรการใหม่ๆ เพิ่มเติมจากมาตรการใหม่ที่มี อาทิ คนละครึ่งเฟส3 และ ยิ่งใช้ยิ่งได้

ตอนนี้เน้น 6 จังหวัดก่อน มีงบที่เตรียมไว้ 7.5 พันล้านบาท เป็นระยะเวลา 1 เดือน ในการเยียวยา ในการดูแลกลุ่มก่อสร้าง สถานบริการ ร้านอาหาร

โดยเป็นงบประมาณของรัฐบาลและในส่วนของกองทุนประกันสังคม รวมทั้งจะมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการต่างๆ ร้านอาหาร ในระยะเวลา 1 เดือนนี้ ซึ่งรัฐบาลจะพิจารณาตั้งแต่รอบ 15 วันเป็นต้นไป

พล.อ.ประยุทธ์ ยันยันว่า ไม่หวั่นไหวกับแรงเสียดทาน โดยเฉพาะการวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ รวมทั้งการชุมนุมต่างๆ เมื่อยืนอยู่ตรงนี้ก็พร้อมที่จะทำงานทุกอย่างให้กับประชาชนทุกคนอย่างบริสุทธิ์ใจ ไม่ว่าจะรักหรือเกลียด แต่ยอมรับว่าเสียใจ เพราะบางคนออกมาใช้วาจาด่าทอหยาบคาย

นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย, พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 (ศปก.ศบค.)

นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พล.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

นายดนุชา แถลงภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือนายจ้าง ลูกจ้างร้านอาหารและไซต์งานก่อสร้าง ที่ได้รับผลกระทบจากการออกข้อกำหนออกตามความในมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 25) ในพื้นกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ นนทบุรี สมุทรสาคร ระยะเวลา 1 เดือน แบ่งออกเป็น ธุรกิจไซต์งานก่อสร้าง และธุรกิจร้านอาหาร และทั้งในระบบประกันสังคมและนอกระบบประกันสังคม

1.ในระบบประกันสังคม กรณีลูกจ้าง จ่ายชดเชยกรณีเหตุสุดวิสัยร้อยละ 50 ของฐานเงินเดือน สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท นอกจากนี้ยังได้ “เงินเพิ่มเติม” จำนวน 2,000 บาทต่อราย ส่วนนายจ้างหรือผู้ประกอบการ จะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาทต่อหัวลูกจ้างในบริษัท สูงสุดไม่เกิน 200 คน

2.นอกระบบประกันสังคม ข้อมูลเบื้องต้นเป็นฐานข้อมูลที่อยู่ในระบบ “ถุงเงิน” ให้ดำเนินการลงทะเบียนเข้าระบบประกันสังคม กรณีลูกจ้างจะได้รับเงิน 2,000 บาทต่อหัว แต่ไม่ได้เงินชดเชยร้อยละ 50 เนื่องจากจ่ายเงินสบทบเข้ากองทุนประกันสังคมไม่ถึง 6 เดือน ส่วนกรณีนายจ้างจะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาทต่อหัวลูกจ้างเช่นเดียวกัน

สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนประกันสังคมได้ เนื่องจากไม่มีลูกจ้าง สามารถขึ้นทะเบียนผ่าน “ถุงเงิน” (หมวดร้านอาหารและเครื่องดื่ม) ได้ภายใน 1 เดือน โดยกระทรวงมหาดไทยจะลงไปตรวจสอบ

เบื้องต้นกรอบวงเงินที่รัฐบาลเตรียมไว้ทั้งหมด 7,500 ล้านบาท แบ่งออกเป็นเงินกู้ 1 ล้านล้าน 4,000 ล้านบาท และกองทุนประกันสังคม 3,500 ล้านบาท โดยต้องให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 29 มิ.ย. เห็นชอบในหลักการการเยียวยาครั้งนี้ก่อน