Categories
ข่าว

เปิดภาพจำลอง! กรมทางหลวง เร่งสำรวจออกแบบ ทางเลี่ยงเมืองมหาสารคาม (ด้านตะวันออก)

การประชุมสรุปผลการศึกษาโครงการ (สัมมนา ครั้งที่ 3) โครงการสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร ทางเลี่ยงเมืองมหาสารคาม (ด้านตะวันออก) จังหวัดมหาสารคาม ในวันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2565 ตั้งแต่เวลา 08.30 น.ณ ตักสิลาคอนเวนชั่นฮอลล์ 1 โรงแรมตักสิลามหาสารคาม อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

โครงการสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร ทางเลี่ยงเมืองมหาสารคามด้านตะวันออก จะแยกจากทางหลวงหมายเลข 213 บริเวณแยกวังยาว มุ่งสู่ทิศตะวันออกและเลี้ยวขวาลงด้านทิศใต้ ผ่านตำบลเกิ้ง ตำบลตลาดและตำบลเขวา จากนั้นแนวเส้นทางจะเข้าบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 23 บริเวณแยกบ้านหม้อ

รูปแบบทางหลวงทั่วไป – เขตทางหลวงกำหนดไว้ 60 เมตร จำนวน 4 ช่องจราจร ความกว้างช่องจราจร ช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางด้านซ้ายกว้าง 2.50 เมตร ไหล่ทางด้านขวากว้าง 1.50 เมตร รูปแบบการจัดการจราจรเป็นแบบแบ่งแยกทิศทาง เกาะกลางชนิดกดเป็นร่อง (Depressed Median) กว้าง 9.10 เมตร องค์ประกอบเป็นไปตามหลักวิชาการและมาตรฐานกรมทางหลวง

สรุปแนวเส้นทางที่เหมาะสมของโครงการ
แนวเส้นทาง (แนวสีเหลือง) เป็นแนวทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีลักษณะสมมาตรกับแนวเลี่ยงเมืองด้านตะวันตก ไม่มีโค้งทางดิ่ง โค้งทางราบน้อยกว่า ระยะทางที่ตัดผ่านย่านชุมชนและบริเวณพื้นที่อุปสรรคสั้นที่สุด ง่ายต่อการเข้าก่อสร้าง รวมทั้งมีระยะทางสั้นที่สุดส่งผลให้มีราคาค่าก่อสร้างน้อยกว่า ในด้านของ สิ่งแวดล้อมแนวเส้นทางเลือกที่ 2 มีปริมาณดินที่จะถูกเคลื่อนย้ายจากพื้นที่โครงการน้อยที่สุด ความยาวโครงสร้างของโครงการที่ปิดกั้นการเดินทางไปมาระหว่างชุมชนมีระยะสั้นที่สุด การใช้ที่ดินที่จะมีผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง ต่อพื้นที่เกษตรกรรม และต่อพื้นที่น้ำ รวมถึงผลกระทบต่อขนาดพื้นที่การชดเชย/เวนคืนที่ดิน น้อยกว่าแนวทางเลือกอื่นแนวเส้นทาง (แนวสีเหลือง)

จากจุดเริ่มต้นบริเวณแยกวังยาว บนทางหลวงหมายเลข 213 และ ทางหลวงหมายเลข 291 แนวเส้นทางจะมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือขนานไปกับถนนคันกั้นน้ำชีและโค้งเลี้ยวขวามาทาง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ กม. 1+500 และผ่านบริเวณปลายของบ่อน้ำ (บึงใหญ่)ประมาณ กม.1+800 พื้นที่หมู่4 ตำบลเกิ้ง และตัดผ่านถนนท้องถิ่นประมาณ กม.2+400 และตัดผ่านห้วยยาง กม.2+650 และถนนท้องถิ่นประมาณกม.2+900 พื้นที่หมู่ 3 และ หมู่ 4 ตำบลเกิ้ง แนวเส้นทางยังคงมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จาก กม. 3 แนวเส้นทางตรงมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และตัดผ่าน ทางหลวงหมายเลข 2367 บริเวณ กม. 3+925 เขตหมู่ 3 ตำบลเกิ้ง และ ตรงผ่านช่องว่างระหว่างเสาไฟฟ้าแรงสูง บริเวณ กม. 4+100 และยังคงมุ่งมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตัดผ่านถนนท้องถิ่น ประมาณ กม. 5+100 เขตหมู่ 12 ตำบลเกิ้ง จาก กม.6 มุ่งสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้และโค้งขวามาทางทิศใต้บริเวณ กม.7+400 และตัดผ่านห้วยคะคาง (ตอนล่าง) บริเวณ กม.7+850 และมุ่งสู่จุดสิ้นสุดโครงการบริเวณแยกจุดตัดทางหลวงหมายเลข 23 (ประมาณ กม.74+750) และทางหลวงหมายเลข 291 (เลี่ยงเมืองฝั่งตะวันตก) ในพื้นที่หมู่ 11 ตำบลเขวา โดยมีระยะทางรวมประมาณ 10.484 กิโลเมตร

รูปแบบทางหลวงช่วงบริเวณย่านชุมชน – เขตทางหลวงกำหนดไว้ 60 เมตร จำนวน 8 ช่องจราจร ด้านละ 4 ช่อง ประกอบด้วย ช่องจราจรทางตรง 2 ช่อง ช่องจราจรเลี้ยวซ้าย 1 ช่อง และช่องจราจรเลี้ยวขวา 1 ช่องในช่วงหัวเลี้ยวทางแยกทั่วๆไป ความกว้างช่องจราจร ช่องละ 3.50 เมตร และไหล่ทางด้านซ้ายกว้าง 2.50 เมตร เกาะกลางชนิดแบบยก (Raised Median) กว้าง 5.10 เมตร

รูปแบบทางหลวงทั่วไป
– เขตทางหลวงกำหนดไว้ 60 เมตร จำนวน 4 ช่องจราจร ความกว้างช่องจราจร ช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางด้านซ้าย
กว้าง 2.50 เมตร ไหล่ทางด้านขวากว้าง 1.50 เมตร
รูปแบบการจัดการจราจรเป็นแบบแบ่งแยกทิศทาง เกาะกลางชนิด
กดเป็นร่อง (Depressed Median) กว้าง 9.10 เมตร องค์ประกอบเป็นไปตามหลักวิชาการและมาตรฐานกรมทางหลวง
รูปแบบทางหลวงช่วงบริเวณย่านชุมชน
– เขตทางหลวงกำหนดไว้ 60 เมตร จำนวน 8 ช่องจราจร ด้านละ 4 ช่อง ประกอบด้วย ช่องจราจรทางตรง 2 ช่อง ช่อง
จราจรเลี้ยวซ้าย 1 ช่อง และช่องจราจรเลี้ยวขวา 1 ช่องในช่วงหัวเลี้ยวทางแยกทั่วๆไป ความกว้างช่องจราจร ช่องละ
3.50 เมตร และไหล่ทางด้านซ้ายกว้าง 2.50 เมตร เกาะกลางชนิดแบบยก (Raised Median) กว้าง 5.10 เมตร

การออกแบบทางแยก
– โครงการสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร ทางเลี่ยงเมืองมหาสารคาม (ด้านทิศตะวันออก) มีจุดเชื่อมต่อกับโครงข่ายทางหลวงเดิม คือ
1. บริเวณ “แยกวังยาว” (ทางแยกทางหลวงหมายเลข 291 กับทางหลวงหมายเลข 213)
2. จุดตัดทางหลวงหมายเลข 2367 (สายมหาสารคาม-กาฬสินธุ์)
3. บริเวณ“แยกบ้านหม้อ” (ทางแยกทางหลวงหมายเลข 291 กับทางหลวงหมายเลข 23) ทั้งนี้เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายรองรับปริมาณจราจรจากพื้นที่สำคัญต่างๆ ให้สามารถใช้เส้นทางถนนแนวเส้นทางเลี่ยงเมืองได้ตามการคาดการณ์ปริมาณจราจรและพิจารณาหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อประชาชนให้มากที่สุด ได้พิจารณาออกแบบทางแยกของโครงการไว้ 3 แห่ง

ภาพจำลองบริเวณแยกวังยาว 1. บริเวณ กม. 0+000 “แยกวังยาว” (ทางแยกทางหลวงหมายเลข 291 กับทางหลวงหมายเลข 213)(จุดเริ่มต้นโครงการ)มีการออกแบบเป็นทางต่างระดับเพื่อรองรับการเดินทางบริเวณทางแยกโดยการออกแบบก่อสร้างสะพานข้ามแยกอยู่ในทิศทางของทางหลวงหมายเลข 291 (ทางเลี่ยงเมือง)และทางลอดอยู่ในทิศทางของทางหลวงหมายเลข 213

1. บริเวณ กม. 0+000 “แยกวังยาว” (ทางแยกทางหลวงหมายเลข 291 กับทางหลวงหมายเลข 213)(จุดเริ่มต้นโครงการ)มีการออกแบบเป็นทางต่างระดับเพื่อรองรับการเดินทางบริเวณทางแยกโดยการออกแบบก่อสร้างสะพานข้ามแยกอยู่ในทิศทางของทางหลวงหมายเลข 291 (ทางเลี่ยงเมือง)และทางลอดอยู่ในทิศทางของทางหลวงหมายเลข 213

2. บริเวณ กม. 3+900จุดตัดทางหลวงหมายเลข 2367 (สายมหาสารคาม-กาฬสินธุ์) มีการออกแบบเป็นทางต่างระดับเพื่อรองรับการเดินทางบริเวณจุดตัดทางแยก โดยการออกแบบก่อสร้างสะพานข้ามแยกอยู่ในทิศทางของทางหลวงหมายเลข 291(ทางเลี่ยงเมืองตะวันออก)และระดับพื้นออกแบบเป็นวงเวียนให้รถเคลื่อนตัวได้ทุกทิศทาง

ภาพจำลอง แยกจุดตัด สายบ้านหม้อ – บ้านแมด บริเวณ กม.2+896ก่อสร้างทางเชื่อมถนนระหว่างถนนคันกั้นน้ำ รูปแบบแยกวงเวียนขนาดเล็กทั้ง 2 ฝั่งของถนนเลี่ยงเมืองและเชื่อมต่อกันด้วยถนนคู่ขนาดแบบสวนทางได้ไปในทิศทางจุดกลับรถบริเวณสะพานข้ามห้วยกุดแดงและย้อนกลับมาสู่ถนนเดิม

3. บริเวณ กม. 10+400 “แยกบ้านหม้อ” (ทางแยกทางหลวงหมายเลข 291 กับทางหลวงหมายเลข 23) (จุดสิ้นสุดโครงการ) มีการออกแบบเป็นทางต่างระดับเพื่อรองรับการเดินทางบริเวณทางแยกโดยการออกแบบก่อสร้างสะพานข้ามแยกรูปตัว Y อยู่ในทิศทางของทางหลวงหมายเลข 291 (ทางเลี่ยงเมืองตะวันตก-ตะวันออก) และทิศทางข้ามจากทางเลี่ยงเมืองตะวันตกไปทางหลวงหมายเลข 23 ทิศทางเบี่ยงขวาไปร้อยเอ็ด

ภาพจำลอง แยกจุดตัด สายบ้านหม้อ – บ้านแมด บริเวณ กม.2+896ก่อสร้างทางเชื่อมถนนระหว่างถนนคันกั้นน้ำ รูปแบบแยกวงเวียนขนาดเล็กทั้ง 2 ฝั่งของถนนเลี่ยงเมืองและเชื่อมต่อกันด้วยถนนคู่ขนาดแบบสวนทางได้ไปในทิศทางจุดกลับรถบริเวณสะพานข้ามห้วยกุดแดงและย้อนกลับมาสู่ถนนเดิม

การออกแบบสะพาน-ทางลอดชุมชน
ผลการสำรวจสภาพภูมิประเทศโครงการซึ่งเป็นแนวเส้นทางตัดใหม่ พบว่าแนวเส้นทางตัดผ่านลำห้วย บึง ร่องน้ำซึ่งใน การออกแบบมีการปรับแนวทิศทางน้ำไหลและออกแบบตอม่อคร่อมลำน้ำ และออกแบบสะพานบกข้ามถนนท้องถิ่นและทาง

ภาพจำลอง แยกจุดตัด ทล.3267 (เมืองมหาสารคาม-บ้านท่าประทาย) 2. บริเวณ กม. 3+900จุดตัดทางหลวงหมายเลข 2367 (สายมหาสารคาม-กาฬสินธุ์) มีการออกแบบเป็นทางต่างระดับเพื่อรองรับการเดินทางบริเวณจุดตัดทางแยก โดยการออกแบบก่อสร้างสะพานข้ามแยกอยู่ในทิศทางของทางหลวงหมายเลข 291(ทางเลี่ยงเมืองตะวันออก)และระดับพื้นออกแบบเป็นวงเวียนให้รถเคลื่อนตัวได้ทุกทิศทาง

ลอดระหว่างชุมชน โดยมีรายละเอียดดังนี้
– บริเวณ กม.1+830 ก่อสร้างสะพานข้ามบึง
– บริเวณ กม.2+420 ก่อสร้างทางเชื่อมถนนระหว่างชุมชน (บ้านวังยาว) รูปแบบแยกวงเวียนขนาดเล็กทั้ง 2ฝั่งของถนนเลี่ยงเมือง
และเชื่อมต่อกันด้วยถนนคู่ขนาดแบบสวนทางได้ไปในทิศทางจุดกลับรถบริเวณสะพานข้ามห้วยกุดแดงและย้อนกลับมาสู่ถนนเดิม
– บริเวณ กม.2+691 ก่อสร้างสะพานข้ามห้วยกุดแดง พร้อมจุดกลับรถทั้ง 2 ฝั่งเพื่อใช้ในการเชื่อมต่อกับถนนทางเชื่อมระหว่างชุมชน และถนนคันกั้นน้ำ

ภาพจำลอง แยกจุดตัด ทล.3267 (เมืองมหาสารคาม-บ้านท่าประทาย) 2. บริเวณ กม. 3+900จุดตัดทางหลวงหมายเลข 2367 (สายมหาสารคาม-กาฬสินธุ์) มีการออกแบบเป็นทางต่างระดับเพื่อรองรับการเดินทางบริเวณจุดตัดทางแยก โดยการออกแบบก่อสร้างสะพานข้ามแยกอยู่ในทิศทางของทางหลวงหมายเลข 291(ทางเลี่ยงเมืองตะวันออก)และระดับพื้นออกแบบเป็นวงเวียนให้รถเคลื่อนตัวได้ทุกทิศทาง

– บริเวณ กม.2+896ก่อสร้างทางเชื่อมถนนระหว่างถนนคันกั้นน้ำ รูปแบบแยกวงเวียนขนาดเล็กทั้ง 2 ฝั่งของถนนเลี่ยงเมืองและเชื่อมต่อกันด้วยถนนคู่ขนาดแบบสวนทางได้ไปในทิศทางจุดกลับรถบริเวณสะพานข้ามห้วยกุดแดงและย้อนกลับมาสู่ถนนเดิม
– บริเวณ กม.8+035 ก่อสร้างสะพานห้วยคะคาง
– บริเวณ กม.8+765ก่อสร้างสะพานบกสำหรับทางลอดทางลอดระหว่างชุมชนบ้านหม้อ พร้อมก่อสร้างวงเวียนรูปดัมเบล (Dumbbell)ใต้สะพานบก

ภาพจำลอง บริเวณแยกบ้านหม้อ 3. บริเวณ กม. 10+400 “แยกบ้านหม้อ” (ทางแยกทางหลวงหมายเลข 291 กับทางหลวงหมายเลข 23) (จุดสิ้นสุดโครงการ) มีการออกแบบเป็นทางต่างระดับเพื่อรองรับการเดินทางบริเวณทางแยกโดยการออกแบบฯก่อสร้างสะพานข้ามแยกรูปตัว Y อยู่ในทิศทางของทางหลวงหมายเลข 291 (ทางเลี่ยงเมืองตะวันตก-ตะวันออก) และทิศทางข้ามจากทางเลี่ยงเมืองตะวันตกไปทางหลวงหมายเลข 23 ทิศทางเบี่ยงขวาไปร้อยเอ็ด

การออกแบบจุดกลับรถ
การพิจารณาตำแหน่งจุดกลับรถโครงการ ได้ออกแบบให้มีการตัดกระแสของจราจรของถนนเลี่ยงเมืองโครงการ
น้อยที่สุด การออกแบบจุดกลับรถ กำหนดไว้ 6 จุด 3 รูปแบบ คือ
1.พิจารณาจุดกลับใต้สะพานทางแยกต่างระดับจำนวน 3 จุด มีระยะสูงพ้นจากพื้นถนน (Clearance) ไม่น้อยกว่า 5.50 เมตร รถบรรทุกขนาดใหญ่สามารถกลับรถได้อย่างสะดวก
2.จุดกลับใต้สะพานข้ามลำน้ำ จำนวน 2 จุด มีระยะสูงพ้นจากพื้นถนน (Clearance) 3.50 เมตร สำหรับรถยนต์ขนาดเล็ก

ภาพจำลอง บริเวณแยกบ้านหม้อ 3. บริเวณ กม. 10+400 “แยกบ้านหม้อ” (ทางแยกทางหลวงหมายเลข 291 กับทางหลวงหมายเลข 23) (จุดสิ้นสุดโครงการ) มีการออกแบบเป็นทางต่างระดับเพื่อรองรับการเดินทางบริเวณทางแยกโดยการออกแบบก่อสร้างสะพานข้ามแยกรูปตัว Y อยู่ในทิศทางของทางหลวงหมายเลข 291 (ทางเลี่ยงเมืองตะวันตก-ตะวันออก) และทิศทางข้ามจากทางเลี่ยงเมืองตะวันตกไปทางหลวงหมายเลข 23 ทิศทางเบี่ยงขวาไปร้อยเอ็ด

3.จุดกลับรถระดับพื้นรูปแบบ inner to inner หรือการกลับรถแบบไม่ต้องรอ ซึ่งจะลดจุดตัดกระแสของจราจรบริเวณจุดกลับรถบนถนนเลี่ยงเมืองโครงการ
1.จุดกลับใต้สะพานทางแยกต่างระดับ จำนวน 3 จุด มีระยะสูง พ้นจากพื้นถนน (Clearance) ไม่น้อยกว่า 5.50 เมตร รถบรรทุกขนาดใหญ่สามารถกลับรถได้อย่างสะดวก
2.จุดกลับใต้สะพานข้ามลำน้ำและสะพานบกจำนวน 2 จุด มีระยะสูง พ้นจากพื้นถนน (Clearance) 3.50 เมตรสำหรับรถยนต์
ขนาดเล็ก
3.จุดกลับรถระดับพื้นรูปแบบ inner to inner หรือการกลับรถแบบไม่ต้องรอ

ภาพจำลอง ถนนเลียบแม่น้ำชี

ตำแหน่งจุดกลับรถของโครงการแนวเส้นทางเลี่ยงเมืองมหาสารคาม
1. กม. 0+000 ใต้สะพานทางแยกต่างระดับ “แยกวังยาว” 5.50 เมตร
2. กม. 2+691 ใต้สะพานข้ามห้วยกุดแดง 3.50 เมตร
3. กม. 3+900 ใต้สะพานทางแยกต่างระดบั จุดตัด ทล.2367
“ร้อยเอ็ด-กันทรวิชัย” 5.50 เมตร
4. กม. 5+800 หมู่ 12 บ้านเจริญสุขตำบลเกิ้ง ระดับพื้น inner
5. กม. 8+765 วงเวียนรูปดัมเบลใต้สะพานบกข้ามถนน บ้านแมด-บานหม้อ 3.50 เมตร
6. กม. 10+400 ใต้สะพานทางแยกต่างระดับ “แยกบ้านหม้อ” 5.50 เมตร

ภาพจำลอง สะพานข้ามลำน้ำ และจุดข้ามชุมชน
ภาพจำลอง กลับรถระดับพื้น
ภาพจำลอง กลับรถใต้สะพานข้ามลำน้ำ

ที่มา : กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม