Categories
ข่าว

ก้าวไปข้างหน้า!! “บิ๊กตู่” ลั่น! จะไม่มีวันท้อถอยหรือท้อแท้ ไม่หยุดคิดและทำ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนทุกคน

วันที่ 5 พ.ค. 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในช่วงการแพร่ระบาดโควิด19 ว่า มีความกังวลเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยหาเช้ากินค่ำ ผู้ประกอบการ อื่นๆที่เป็นห่วงโซ่สำคัญในระบบเศรษฐกิจไทย คนในตั้งคณะกรรมการศบศ. ศูนย์บริหารสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ เพื่อพิจารณาการช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยได้มีมาตรการออกมาเป็นจำนวนมาก ทั้งโครงการเราชนะโครงการ ม.33 เรารักกัน และมาตรการทางการเงิน

อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดของโควิดในรอบนี้ จำเป็นต้องออกมาตรการปิดสถานที่ต่างๆที่เกิดผลกระทบกับประชาชนจำนวนมากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตอนนี้มีคำสั่งให้กระทรวงการคลังและสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การพิจารณาออกมาตรการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนเพิ่มเติมอย่างเร่งด่วน
.
โดยสรุปมาตรการได้ดังต่อไปนี้ มาตรการในระยะที่ 1 มี 3 มาตรการหลักที่สามารถดำเนินการได้ทันที ได้แก่

1 มาตรการด้านการเงิน มีจำนวน 2 มาตรการ คือ 1)มาตรการสินเชื่อ สู้ภัยโควิด 19 วงเงิน 20,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับประชาชนผู้ประกอบการและเกษตรกร โดยธนาคารออมสินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายละ 10000 บาท ด้วยหลักเกณฑ์ที่ผ่อนปรนกว่าสินเชื่อปกติ ดอกเบี้ย 0.35 เปอร์เซ็นต์ ต่อเดือนระยะเวลา 3 ปี ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ยใน 6 เดือนแรก
.
2) มาตรการพักชำระหนี้ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยให้ขยายระยะเวลาการพักชำระหนี้เงินต้น ให้แก่ลูกหนี้ออกไปถึงสิ้นปีนี้เพื่อลดภาระ นำเงินส่วนนี้ไปเสริมสภาพคล่อง

2. มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าและประปาของประชาชนให้กับกิจการขนาดเล็กทั่วประเทศในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือน มิ.ย. 2564 เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนและกิจการที่ถูกปิด
.
3.มาตรการต่อเนื่อง ด้านการช่วยเหลือเยียวยาประชาชน ประกอบ 2 โครงการวงเงิน 88,500 ล้านบาท แบ่งเป็น การเพิ่มวงเงินเราชนะอีกสัปดาห์ละ 1000 บาท เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ โดยให้สิ้นสุดการใช้จ่ายในเดือน มิถุนายน 2564 วงเงินรวมประมาณ 67,000 ล้านบาท
.
ส่วนการช่วยเหลือเพิ่มวงเงิน ในโครงการผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เรารักกัน อีกสัปดาห์ละ 1,000 บาท ระยะเวลา 2 สัปดาห์ โดยให้สิ้นสุดระยะการใช้จ่ายในเดือน มิ.ย. 2564 วงเงินประมาณ 18,500 บาท
.
ส่วนมาตรการในระยะที่ 1 นั้นคณะรัฐมนตรี ให้มติเห็นชอบให้ดำเนินการในส่วนของมาตรการด้านการเงินทั้ง 2 เรื่อง ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เห็นชอบให้ดำเนินการตามมาตรการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาและค่าไฟฟ้า ในช่วงเดือนพฤษภาคม และ มิถุนายนนี้ ส่วนการเพิ่มวงเงินในโครงการเราชนะและ ม.33 เรารักกัน หน่วยงานที่รับผิดชอบจะเร่งดำเนินการเสนอโครงการตามที่รับผิดชอบ ซึ่งตนได้กำหนดให้นำเข้าสู่การพิจารณา ของคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า

นอกจากนี้ยังมีมาตรการช่วยเหลืออื่นๆอีกอย่างเช่นมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. ตัวขยายระยะเวลาช่วยเหลือออกไปถึงสิ้นปีนี้ ลดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ซึ่งผู้ที่ได้รับประโยชน์มีประมาณ 3 ล้านคน รวมทั้งการชดเชยผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่ต้องกักตัวหรือหยุดงาน
.
นอกจากโครงการระยะสั้นแล้ว รัฐบาลได้วางแผนช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อยถึงสิ้นปีนี้ โดยมาตรการในระยะที่ 2 ในเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม 2564 เชื่อว่าหากร่วมมือกันจำกัดการแพร่ระบาดได้อย่างเต็มที่ สถานการณ์การแพร่ระบาดจะคลี่คลายลงจนอยู่ในระดับที่สามารถดำเนินการในระยะที่ 2 ได้
.
โดยมาตรการในระยะที่ 2 ประกอบด้วย 2 มาตรการหลัก กรอบวงเงิน 140,000 ล้านบาท ได้แก่ มาตรการลดภาระค่าครองชีพ ประกอบด้วย 2 โครงการ คือโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในระยะที่ 3 โดยให้เงินช่วยเหลือเพิ่มเติม 200 บาท 6 เดือน ตั้งแต่เดือน ก.ค. -ธ.ค. 2564 ครอบคลุมประชาชน 13 ล้าน 6 แสนคน และโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการรับความช่วยเหลือเป็นพิเศษ โดยให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมเดือนละ 200 บาท เหลือเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม 2564 ครอบคลุมประชาชน 2 ล้าน 5 แสนคน

และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการกระตุ้นกำลังซื้อให้กับประชาชน กลุ่มที่มีรายได้ปานกลางและมีรายได้สูง ประกอบด้วย 2 โครงการได้แก่ โครงการคนละครึ่งระยะที่ 3 ซึ่งโครงการนี้ เธอเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจหมุนเวียนเงินในระบบเศรษฐกิจและช่วยเหลือเศรษฐกิจฐานรากโดยตรง และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ซึ่งถือเป็นโครงการใหม่หรือภาครัฐจะสนับสนุนบัตรกำนัลอิเล็กทรอนิกส์ E-Voucher ให้กับผู้ที่ได้รับสิทธิ์ โดยใช้การชำระเงินผ่าน G- wallet ของแอพพลิเคชั่นเป๋าตังค์ ของร้านค้าที่จดทะเบียน ซึ่งติดตั้งแอปพลิเคชันถุงเงิน ยิ่งใช้ยิ่งดี ซึ่งเป็นการกระตุ้น ผ่านผู้ที่มีกำลังซื้อสูง ทั้งหมดที่ออกมาจะครอบคลุมเป้าหมาย 51 ล้านคน มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจประมาณ 473,000 ล้านบาท
.
นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ทั้งหมดนี้คือการทำงานและดำเนินการอย่างเต็มที่ของรัฐบาลและศบค. ในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาวิกฤต โควิด -19 ทั้งทางด้านการควบคุมการแพร่ระบาดและการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ตนในฐานะนายกรัฐมนตรีและผอ.ศบค. พร้อมด้วยทุกภาคส่วน จะไม่มีวันท้อถอยหรือท้อแท้ ไม่ว่าจะต้องเผชิญกับปัญหาใดๆ และจะต้องไม่หยุดในการคิดและหยุดทำ ช่วยเหลือประชาชนให้ปลอดภัย และให้ประเทศไทยที่รักของทุกคนก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงแข็งแรงยังยืน

“ผมในฐานะนายกฯ และ ผอ.ศบค. จะไม่มีวันท้อถอยหรือท้อแท้ ไม่ว่าจะต้องเผชิญกับปัญหาใดๆ และจะไม่หยุดการคิดและทำ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนทุกคนให้ปลอดภัย” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม แถลงหลังการประชุม ครม.ถึงการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่