Categories
ข่าว

“สุชาติ” ลั่น! ค่าแรงขั้นต่ำ 400- 425 บาท ทำได้แน่ ถ้าไม่มีโควิด-19

วันที่ 2 มิ.ย. 65 การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ชี้แจงกรณีที่ฝ่ายค้านทวงถามเรื่องการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400- 425 บาท ตามที่พรรคพลังประชารัฐเคยหาเสียงไว้ ว่าสามารถทำได้แน่ ถ้าไม่เกิดสถานการณ์โควิด-19 เพราะปรับขึ้นเพียงปีละ 6-7 % แต่หากปรับขึ้นในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา จะส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อประเทศ และเป็นการซ้ำเติมผู้ประกอบการที่เดือดร้อนจากโควิด-19 โดย นายสุชาติ ยังให้คำยืนยันว่า ในปีนี้จะสามารถปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นได้อย่างแน่นอน แต่จะปรับได้เท่าไร ต้องตอบคำถามสภานายจ้าง สภาอุตสาหกรรม หอการค้า บรรดาผู้ประกอบการ และ นายจ้างให้ได้ ทั้งนี้ นายสุชาติยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ได้ปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 13 สาขา ในปี 2564 และจะเพิ่มอีก 16 สาขา ในปี 2565 รวม 112 สาขา ที่จะได้อัตราค่าแรงขั้นต่ำสูงสุดที่ 855 บาท พร้อมระบุด้วยว่า […]

Categories
ข่าว

เข้าใจทุกอย่าง! “สุชาติ” แจง ปรับค่าแรงขั้นต่ำ 492บาท ไม่ใช่เท่ากันทั้งประเทศ ต้องให้นายจ้างอยู่ได้ ลูกจ้างพอไปได้

วันที่ 1 พ.ค.2565 ที่กระทรวงแรงงาน นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน แถลงถึงข้อเรียกร้องในการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ เท่ากันทั้งประเทศอัตรา 492 บาท ว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำมีปลัดกระทรวง เป็นประธาน ที่ให้มีการพิจารณาประกอบการทั้งภาวะเงินเฟ้อ ค่าครองชีพ และอัตราค่าแรงในปัจจุบัน ซึ่งแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน ส่วนกรณีที่เสนอให้ปรับ 492 บาท เท่ากันทั้งประเทศ ซึ่งเป็นการคิดแบบตรรกะที่ตนไม่เข้าใจ สมมติเช่าบ้านอยู่ที่ลำปาง 2,000 บาท แต่ค่าเช่าที่ชลบุรี กทม. เป็นอีกราคาหนึ่ง ดังนั้นจะต้องเอาค่าครองชีพของแต่ละพื้นที่มาคำนวณด้วย นายสุชาติ กล่าวต่อว่า ตนเข้าใจทุกอย่าง เพราะเคยเป็นลูกจ้างอยู่ในมาตรา 33 มาก่อน แต่ข้อเรียกร้องต้องสร้างสมดุลทั้งสองฝ่าย และ 2 ปีของการระบาดโควิด-19 นายจ้างบาดเจ็บเท่าไหร่ เจ็บจนไม่รู้ว่าจะเอาเงินที่ไหนมาประคอง ถ้าจะขึ้นเงินเดือนจริงๆ 48 เปอร์เซ็นต์ ไหวหรือไม่ เราต้องเอาค่าแรงขั้นต่ำ ค่าครองชีพ ภาวะเงินเฟ้อมาเป็นตัวพิจารณาประกอบกันด้วย นายสุชาติ กล่าวอีกว่า โดยมาตรฐานทั่วโลกใช้สูตรนี้หมด แต่จะปรับเท่าไหร่ให้นายจ้างอยู่ได้ ลูกจ้างพอไปได้ และที่มาเรียกร้องพอถามว่าได้ค่าแรงเท่าไหร่ […]

Categories
ข่าว

“บิ๊กป้อม” ลั่น! คนว่างงานเป็นล้าน ไม่จริง ยัน กลับเข้ามาทำงานเยอะแล้ว คนว่างงานตอนนี้ถือเป็นส่วนน้อย

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ที่กระทรวงแรงงาน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงที่มาเยี่ยมเพื่อดูว่าแรงงาน ได้ดำเนินการอย่างไรบ้างในการช่วยเหลือประชาชนแรงงานไทย และแรงงานต่างด้าวให้ปลอดภัยจากโควิด-19 ตนได้รับรายงานแล้วว่าแรงงาน ได้ดำเนินการเตรียมที่พัก เช่น ที่พักคนป่วย ที่พักไอซียู เป็นต้น รวมถึงการเยียวยาให้แก่ประชาชนที่ว่างงาน “ยืนยันว่าการที่ออกมาบอกว่าคนว่างงานเป็นล้าน ไม่เป็นความจริง เพราะได้มีการกลับเข้ามาทำงานเยอะแล้ว คนที่ยังคงว่างงานถือเป็นส่วนน้อย” พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า สำหรับการช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงในฉนวนกาซา ประเทศอิสราเอลอย่างเร่งด่วน ได้ดำเนินการประสานกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อนำร่างกลับมาประเทศไทยให้เร็วที่สุด และจะช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิต อย่างเต็มความสามารถ โดยมีระเบียบของการช่วยเหลืออยู่แล้ว ทั้งนี้แรงงานที่จะเดินทางไปต่างประเทศขอให้ชะลอก่อน และพื้นที่ใดเป็นพื้นที่เสี่ยงยังไม่ให้ไป หากไม่เสี่ยงสามารถไปได้ สำหรับคนไทยที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงให้อพยพออกมาก่อนเมื่อปลอดภัยแล้วจะกลับไปอีกค่อยว่ากัน เมื่อถามถึงการฉีดวัคซีนให้ผู้ประกันตนมีอุปสรรค อย่างไรหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่มี เราเตรียมการไว้ทั้งหมด โดยเตรียมจุดฉีดไว้ 45 จุดในกทม.และปริมณฑล 9 จังหวัด ถามเรื่องการลงทะเบียนฉีดวัคซีนแบบวอล์กอิน ระบบเป็นอย่างไร พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า เป็นเรื่องของ พล.อ.ประยุทธ์ […]

Categories
ข่าว

ผู้ประกันตนเฮ! ครม.ไฟเขียว เยียวยามนุษย์เงินเดือน ลดเงินสมทบ 2 เดือน

วันที่ 26 มกราคม 2564 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในวันนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติพิจารณาเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ เรื่อง ให้แก้ไขกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2563 โดยเงินสมทบงวดเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2564 ให้จัดเก็บเงินสมทบฝ่ายนายจ้างในอัตราร้อยละ 3 ของค่าจ้างผู้ประกันตน ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จัดเก็บในอัตราร้อยละ 0.5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และสำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จัดเก็บในอัตราเดือนละ 38 บาท สำหรับรัฐบาลส่งเงินสมทบอัตราเดิม ร้อยละ 2.75 ของค่าจ้างผู้ประกันตน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตนซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 นายสุชาติ กล่าวต่อว่า การลดอัตราเงินสมทบของผู้ประกันตนในครั้งนี้จะมีผลทำให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมลดลงจากร้อยละ 3 ของค่าจ้างผู้ประกันตน เหลือร้อยละ 0.5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จ่ายเงินสมทบลดลงจากในอัตราเดือนละ 278 บาท เหลือในอัตราเดือนละ 38 […]

Categories
ข่าว

สูงสุดสถิติใหม่!! เปิดตัวเลข คนว่างงาน ถูกเลิกจ้าง ก.ย.63 พุ่งเกือบ 5 แสนคน

วันที่ 30 พ.ย.63 กองเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน รายงานเศรษฐกิจแรงงาน ประจำเดือน ก.ย. 2563 (อ่าน) ระบุว่า สถานการณ์การจ้างงานในตลาดแรงงาน ระบุว่า เดือน ก.ย.63 มีแรงงานในระบบประกันสังคมหรือผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 11,093,914 คน มีอัตราการหดตัวร้อยละ -5.08 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (จำนวน 11,687,597 คน) และมีอัตราการหดตัวร้อยละ -0.21 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (จำนวน 11,117,083 คน) ขณะที่ สถานการณ์การว่างงาน จำนวน ผู้ว่างงาน เดือนกันยายน 2563 จำนวน 487,980 คน ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 183.03 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีเพียง 172,412 คน ทั้งนี้ อัตราการว่างงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือน ก.ย. 2563 พบว่าอยู่ที่ร้อยละ 1.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา […]

Categories
ข่าว

ช้าแต่ได้ชัวร์!! กระทรวงแรงงาน แจงละเอียด จ่ายเงินชดเชยประกันสังคม มาตรา 33

กระทรวงแรงงาน ได้ออกมาชี้แจงการดำเนินจ่ายเงินชดเชยผู้ประกันตน กรณีว่างงานจากการระบาดของโรคโควิด-19 แฟนเพจ กระทรวงแรงงาน ได้ออกมาชี้แจงรายละเอียดการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ว่า กรณีการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เงินประกันสังคม ไม่เหมือนเงินของกระทรวงการคลัง ซึ่งมีความแตกต่างกันตรงที่ (1) มีกฎหมายคุ้มครองทางการเงิน (2) เป็นเงินส่วนรวมของผู้ประกันตนทุกคน มีคนดูแล 4 ฝ่าย คือ -ภาครัฐ คอยตรวจสอบตามกฎหมาย – ผู้ประกันตนที่ต้องการได้เงิน 62 % -นายจ้าง คอยตรวจสอบว่าจะใช้เงินส่วนนี้มาลดต้นทุนของตนอย่างไร -ผู้ประกันตนที่ไม่ต้องการได้เงิน 62 % เพราะยังทํางานอยู่ หรือรับเงิน 75 % จึงคอยตรวจสอบยอดเงิน 62 % ที่จะจ่ายว่าเหมาะสมหรือมากไป ก็เท่ากับมีองค์กรลูกจ้างต่างๆ มากกว่า 500 กว่าแห่งคอยจับตาดู (3) กระทรวงนําเงินนี้มาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของคนงาน ไม่ใช่นํามาเพื่อหาเสียง ดังนั้น จึงทําทุกอย่างให้ถูกต้อง การทํางาน ทุกอย่างต้องมีกฎเกณฑ์ครบถ้วน จึงจะแจกได้ คนมีชื่อประกันตน […]

Categories
ข่าว

เงินไม่หมด!! ‘หม่อมเต่า’ ยอมรับจ่ายเยียวยาประกันสังคมล่าช้า เพราะระบบคอมพ์เก่าไม่ออนไลน์ เสียเวลาตรวจสอบ

วันที่ 21 พฤษภาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์กรณีเงินเยียวยาในส่วนของประกันสังคมว่า ได้เชิญเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมมาพูดคุยแล้ว ยอมรับว่า ต้องล่าช้าเพราะโดยลักษณะของระบบคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช่ออนไลน์ ต้องตรวจสอบ เราจะต้องรอ คงต้องใช้เวลาแก้ไข และการอนุมัติก็ต้องผ่านการตรวจสอบและเซ็นลงนามถึงสองคน คือเมื่อลูกจ้างขอมานายจ้างก็ต้องเซ็น ภาคราชการก็ต้องตรวจสอบก่อนที่จะจ่ายเงิน ขณะนี้ทางประกันสังคมสามารถรายงานให้คนทราบได้ทุกวันว่า วันนี้จ่ายได้กี่คน วันนี้ติดอยู่กี่คน กำลังพัฒนาอยู่ ส่วนการชดเชยไม่มีปัญหา เข้าใจว่าลูกจ้างเป็นห่วงว่าเงินจะหมด แต่ไม่หมดหรอก เพราะถ้าประมาณการว่าคนละ 20,000 กว่าบาท ถ้าคิด 1 ล้านคน ก็ 20,000 กว่าล้าน ก็ต้องรอดูก่อนว่าเขากลับไปทำงานกันหมดแล้วหรือยัง มีตกงานอีก จำนวนเพิ่มขึ้นหรือไม่ ซึ่งตอนนี้ขอมาเพิ่มวันหนึ่ง 30,000 ราย ซึ่งได้รับข้อมูลแล้วก็ต้องรอดูทุกวันว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 4 หมื่น หรือ 5 หมื่นหรือไม่ หรือว่ามีกลับไปทำงานกันมากขึ้น ต้องรอดู 1-2 เดือน ด้วยว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มนิ่งหรือไม่ เปิดห้างสรรพสินค้าแล้ว พนักงานสามารถกลับไปทำงานได้กี่คน ผู้ผลิตขายของได้มากขึ้นหรือไม่ หรือหันไปซื้อออนไลน์กันหมด เราจะต้องประเมินจากของจริงด้วย

Categories
ข่าว

อึ้งทั้งประเทศ!! ‘หม่อมเต่า’ ยอมรับ จ่ายเงินประกันสังคมล่าช้า เพราะคอมเก่า

จากกรณีสำนักงานประกันสังคม จ่ายเงินชดเชยกรณีว่างงานของลูกจ้าง จากเหตุสุดวิสัยจากสถานการณ์โควิด-19 ล่าช้า จนเกิดเสียงวิจารณ์ในการทำงาน ทำให้ผู้ประกันตนที่ได้รับเดือดร้อนได้รับเงินล่าช้า ล่าสุด วันที่ 7 พ.ค.หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล (หม่อมเต่า)  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  ชี้แจงว่า ส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความล่าช้า เกิดจากระบบคอมพิวเตอร์ของกระทรวงที่มีข้อจำกัด คอมพิวเตอร์เก่า โดยเพิ่งทราบจากรายงานว่าคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานใช้งานมาตั้งแต่ปี 2552 มีการร้องเรียนและป.ป.ช.ตรวจสอบแล้วว่าไม่ถูกต้อง และให้ลงโทษปรับผู้ดำเนินการ 556 ล้านบาท ทั้งนี้จะส่งเจ้าหน้าที่กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน มาช่วยประกันสังคมในการเร่งรัดเรื่องนี้ พร้อมยืนยันว่าทางประกันสังคมมีเงินพอจ่ายให้ผู้ประกันตนแน่นอน เพราะสะสมมากว่า 34 ปี ที่ผ่านมาไม่ได้จ่ายเงินจำนวนมาก ยกเว้นกรณีเจ็บป่วย ทั้งนี้ต้องขอให้นายจ้างราว 50,000 ราย ที่ยังไม่เข้ามารับรองสิทธิว่าได้รับผลกระทบจริง ได้ส่งหนังสือแจ้งเตือนให้นายจ้างเข้ามารับรองสิทธิการหยุดงาน ภายในวันที่ 8 พฤษภาคมนี้ หรือ ภายใน 2 วันจากนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถโอนเงินงวดแรกให้โอนครบ ภายใน 15 พฤษภาคมนี้ ซึ่งล่าสุดสำนักงานประกันสังคม ได้ทยอยจ่ายเสร็จสิ้นไปกว่าครึ่งจากจำนวนผู้มีสิทธิ ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2563 จำนวน […]

Categories
ข่าว

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ ห้ามคนต่างด้าวทำงาน 27 อาชีพ เด็ดขาด

เมื่อวันที่ 21 เม.ย.เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ ระบุว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 วรรคหนึ่งแห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2563 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 กำหนดให้งานตามที่ระบุไว้ในบัญชีหนึ่งท้ายประกาศนี้ หรืองานที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องมีสัญชาติไทย เป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยเด็ดขาดในทุกท้องที่ในราชอาณาจักร ข้อ 3 กำหนดให้งานตามที่ระบุไว้ในบัญชีสองท้ายประกาศนี้เป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ ในทุกท้องที่ในราชอาณาจักรโดยมีเงื่อนไขให้คนต่างด้าวทำงาน ได้ตามข้อตกลงระหว่างประเทศหรือพันธกรณีที่ประเทศไทยมีความผูกพันภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย ข้อ 4 กำหนดให้งานตามที่ระบุไว้ในบัญชีสามท้ายประกาศนี้เป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำในทุกท้องที่ในราชอาณาจักร โดยมีเงื่อนไขให้คนต่างด้าวทำงานฝีมือหรือกึ่งฝีมือนั้นได้ก็แต่เฉพาะงานที่มีนายจ้าง ข้อ 5 กำหนดให้งานตามที่ระบุไว้ในบัญชีสี่ท้ายประกาศนี้เป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำในทุกท้องที่ในราชอาณาจักรโดยมีเงื่อนไขให้คนต่างด้าวทำงานนั้นได้ก็แต่เฉพาะงานที่มีนายจ้างและได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศการรับคนต่างด้าวเข้าทำงานกับนายจ้าง ตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามเงื่อนไขตามที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนด ข้อ 6 ในกรณีเป็นงานที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองคนต่างด้าวจะขอรับใบอนุญาตทำงานได้ก็ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองตามกฎหมายนั้นแล้ว ประกาศ ณ วันที่ 1 เม.ย.2563 หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  

Categories
ข่าว

พิษโควิด!! “หม่อมเต่า” เผยเดือน มี.ค.ปชช.ลงทะเบียนว่างงาน มากกว่า 140,000 คน

หม่อมราชวงศ์ จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ย้ำ ประชาชนที่ว่างงาน จากการถูกเลิกจ้าง ซึ่งเป็นผลกระทบจากการแพร่กระจายของโรค COVID-19 ที่ทำให้นายจ้าง/สถานประกอบการต้องปิดกิจการ จะได้รับเงินชดเชย 70% ของค่าจ้างที่เคยได้รับ โดยระยะเวลาที่จ่ายจะไม่เกิน 200 วัน หากเป็นการว่างงานจากการลาออกเอง จะได้รับเงิน ในอัตรา 45% ของค่าจ้างที่เคยได้รับ โดยระยะเวลาที่จ่ายจะไม่เกิน 90 วัน แต่หากเป็นกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย ได้แก่ กรณีนายจ้างไม่ให้ทำงานเพราะต้องกักตัว 14 วัน เนื่องจากสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ COVID-19 และ กรณีหน่วยงานภาครัฐสั่งให้ปิดสถานประกอบการชั่วคราว จะต้องลงทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทน กับสำนักงานประกันสังคม ด้าน นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน เผย หลังจากได้แจ้งให้ พนักงาน ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง จากสถานประกอบการที่ประสบปัญหา ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่ส่งเงินสมทบประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน มาลงลงทะเบียนใช้สิทธิ์กรณีว่างงานออนไลน์ ทางเว็บไซต์ https://empui.doe.go.th ภายใน 30 วันหลังจากถูกเลิกจ้าง […]