นายเสกสกล อัตถาวงศ์ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. ออกมาเปิดเผยเศรษฐกิจประเทศฟื้น-บริษัทจดทะเบียนกำไรโต ดึงดูดเงินทุนต่างชาติไหลเข้าต่อเนื่อง และเดือนส.ค. 65 ตลาดหุ้นไทยต่างชาติแห่ซื้อสุทธิ 5.7 หมื่นล้านบาท ดัน 8 เดือนยอดพุ่ง 1.7 แสนล้านบาท ว่าการที่เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณบวกนั้น แสดงให้เห็นว่าที่ผ่านมานายกฯประยุทธ์และรัฐบาลแก้ไขปัญหาได้ถูกทางแล้ว แม้ว่าจะเกิดสถานการณ์โควิด-19 แต่ยังทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นได้ตามลำดับ และนอกจากเศรษฐกิจจะค่อยๆดีขึ้นแล้ว นายกฯประยุทธ์และรัฐบาลไม่ได้หยุดที่จะพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยได้เร่งพัฒนาโครงการหลายโครงการ ทั้งการลงทุนพัฒนาระบบรางทั่วประเทศ ระบบรถไฟฟ้าในเมือง รถไฟทางคู่เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างเมือง และรถไฟความเร็วสูง โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน เชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพฯ – หนองคาย รัฐบาลยังได้เร่งดำเนินการเพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2570 เป็นการแสดงให้เห็นแล้วว่านายกฯประยุทธ์มีความตั้งใจ ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในขณะที่เกิดสถาการณ์โควิด-19 ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่นายกฯประยุทธ์ก็ทำให้เห็นแล้วว่าสามารถทำให้ดีขึ้นตามลำดับ ความเชื่อมั่นของนานาประเทศมีมากขึ้น มีการลงทุนเพิ่มขึ้น ประชาชนในประเทศเริ่มทำมาค้าขายได้ ดังนั้นขอให้กลุ่มคนที่เห็นต่าง หรือว่าพรรคการเมืองฝ่ายค้านได้เปิดหูเปิดตาดูว่าประเทศเป็นอย่างไรบ้าง อย่าเอาแต่เล่นการเมืองหรือเอาอคติส่วนตัวมาตัดสินว่านายกฯประยุทธ์บริหารล้มเหลวทุกด้าน เพราะหากล้มเหลวจริงประเทศไทยไม่เดินหน้ามาได้จนถึงทุกวันนี้ ซึ่งอาจทำได้ดีกว่ารัฐบาลของพรรคเพื่อไทยอีก”นายเสกสกล กล่าว
Tag: เศรษฐกิจ
วันที่ 22 มิ.ย.65 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวระหว่างเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่ทำเนียบรัฐบาล ว่าทุกคนทราบดีว่าไทยมีปัญหาด้านพลังงานมากพอสมควร ทั้งปัจจัยภายในและภายนอก จึงจำเป็นต้องเร่งคลี่คลายสถานการณ์ให้ได้มากที่สุด แต่ก็มีเรื่องหนึ่งที่น่ายินดี คือการจัดอันดับของสถาบัน ฟิทช์ เรทติ้งส์ ยังคงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยที่ BBB+ ถือเป็นมาตรฐานบ่งชี้ ว่าการเงินการคลังยังแข็งแกร่ง มีเสถียรภาพ ซึ่งรัฐบาลได้แก้ปัญหาอย่างระมัดระวังมากที่สุด ทั้งการดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ให้อยู่ภายในกรอบและรักษาวินัยการเงินการคลังไว้ได้เป็นอย่างดี จึงขอขอบคุณกรรมการทุกคน สำหรับวาระการประชุมวันนี้ จะมีการพิจารณาร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำจาก สปป.ลาว การเลื่อนแผนการปลดเครื่องโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนแม่เมาะ เครื่องที่ 8-11 การบริหารอัตราค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (FT) แนวทางการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะอุตสาหกรรมเพื่อผลิตไฟฟ้า การขอยกเว้นภาษีสรรพากร ที่เกิดจากการร่วมลงทุนโครงการ LMG receiving Terminal แห่งที่ 2 การขอยกเว้นเงื่อนไขตามหลักการแผนบูรณาการการลงทุน และการดำเนินงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า สำหรับแผนงานและโครงการปี 2565 และการเสนอจัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ระยะยาวของ ปตท.
วันที่ 31 พ.ค.65 น.ส.นันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยถึงสถานการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 4 เดือนแรกของปี 2565 ตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน ว่าภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยต่อวัน เพิ่มขึ้น 11.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว โดยการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในทุกกลุ่มเพิ่มขึ้นแทบทั้งหมด ยกเว้นกลุ่มน้ำมันเบนซินที่ลดลง 3.9% จากราคาที่สูงต่อเนื่อง โดยมีการใช้กลุ่มน้ำมันเบนซินเฉลี่ยวันละ 29.6 ล้านลิตรต่อวัน ส่วนกลุ่มน้ำมันดีเซลในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ มีการใช้เฉลี่ยวันละ 77.28 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 15.7% ขณะที่การใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ เฉลี่ยอยู่ที่ 7.22 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 48.8% เพราะได้อานิสงส์จากมาตรการผ่อนคลายการบิน และการเดินทางเข้า-ออกประเทศ เช่นเดียวกับการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว LPG ที่มีการใช้เฉลี่ย 17.77 ล้านกิโลกรัมต่อวัน เนื่องจากการใช้ในภาคต่างๆ ทั้งภาคปิโตรเคมี ภาคขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม และภาคครัวเรือน ล้วนเพิ่มขึ้นมาทั้งหมด สำหรับการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เฉลี่ยอยู่ที่ 1,018,628 […]
วันที่ 21 ก.พ.2565 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม พอใจหลังรับรายงานข้อมูลเศรษฐกิจไตรมาสที่ 4/2564 และทั้งปี 2564 จากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ว่าทั้งปี 2564 เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ 1.6% ซึ่งสูงกว่าที่ สศช. ได้ประมาณการไว้1.2% น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีพอใจกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2564 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยเผชิญกับแรงกดดันจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงเช่นเดียวกับทุกประเทศทั่วโลก โดยรัฐบาลได้พยายามทุกวิถีทางอย่างเต็มที่ในการดูแลชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในช่วงเวลาที่ยากลำบาก สำหรับปี 2565 ที่สภาพัฒน์ได้ประเมินว่าแนวโน้มเศรษฐกิจจะดีกว่าปีที่ผ่านมา ด้วยปัจจัยสนับสนุนหลายด้านแต่ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังนี้ นายกรัฐมนตรีย้ำว่าในปี 2565 นี้รัฐบาลจะเดินหน้าอย่างเต็มที่ในการฟื้นฟูประเทศจากผลกระทบของโควิด-19 ควบคู่ไปกับการดูแลการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัด โดยรัฐบาลจะรักษาแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวมาได้แล้วตั้งแต่ปลายปี 2564 ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายในครัวเรือน ที่จะมีการดูแลกลไกต่างๆ เพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาสินค้าและค่าครองชีพของประชาชน แก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนให้ต่อเนื่อง ฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยว เร่งรัดการเบิกจ่ายภาครัฐทั้งส่วนของรายจ่ายประจำและการลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย ขณะที่การลงทุนเอกชนจะดำเนินนโยบายสนับสนุนทั้งการฟื้นตัวและลงทุนของนักลงทุนไทย และการดึงดูดลงทุนของต่างชาติ ตลอดจนการขับเคลื่อนการส่งออกที่ปีนี้จะยังคงได้รับผลบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่างประเทศ นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้มอบหมายกระทรวงการคลังและสศช. ในการเฝ้าติดตามประเด็นความผันผวนของเศรษฐกิจและตลาดการเงินโลกที่อาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยต่างๆ เช่น กรณีที่เกิดไวรัสกลายพันธุ์ […]
‘บิ๊กตู่’ พอใจ! เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดี
วันที่ 29 ม.ค.65 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม พอใจภาพรวมเศรษฐกิจไทย ปี 2564 และ 2565 ที่รายงานโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ว่า เศรษฐกิจไทยปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.2 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.9 ถึง 1.4) ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับประมาณการครั้งก่อน ณ เดือนตุลาคม 2564 ที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี โดยเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ฟื้นตัวได้ดีกว่าที่คาดไว้ ขณะที่ในปี 2565 นั้น คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ในช่วงร้อยละ 4.0 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.5 ถึง 4.5) โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายในประเทศที่ขยายตัว หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ รวมถึงการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ที่ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศมีผลกระทบในวงจำกัด […]
เมื่อเวลา 11.30 น.วันที่ 13 ม.ค.64 ที่ทำเนียบรัฐบาล นาย สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ดูแลงานด้านเศรษฐกิจ ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมการแก้ไขราคาสินค้าแพงว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กำลังแก้ไขปัญหานี้อยู่ ประเด็นสินค้าราคาแพงต้องพิจารณาว่ามาจากปัจจัยใด ทางรัฐบาลเองมีนโยบายและได้หารือกับทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ โดยตัวเลขจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และการพยากรณ์จากหลายสถาบัน เชื่อได้ว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยจะอยู่ในระดับ 1-3 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่สามารถดูเฉพาะเจาะจงในรายการสินค้าได้ ต้องดูภาพรวมของอัตราเงินเฟ้อแทน เป็นเป้าหมายที่เราจะต้องควบคุมให้ได้ ซึ่งจะแตกต่างจากประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกาที่อัตราเงินเฟ้อขึ้นไปถึง 7เปอร์เซ็นต์ แต่เราไม่ได้ประมาทในเรื่องนี้ ส่วนไหนที่ตรึงได้ก็พยายามจะตรึง ส่วนไหนที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับกลไกตลาดก็จำเป็นต้องเพิ่มการผลิตให้มากขึ้นกรณีที่เกิดขาดความแคลนในสินค้าประเภทนั้น ไม่อยากให้ประชาชนไปเฝ้ามองเพียงแค่การขาดสินค้าตัวใดตัวหนึ่ง เพราะอยากให้ดูในภาพรวมดีกว่า ผู้สื่อข่าวถามว่า ต้องมีมาตรการทางการคลังลงไปช่วยหรือไม่ เช่น โครงการคนละครึ่ง นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า เรามีกำหนดการเร่งหารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อติดตามสถานการณ์ ซึ่งไม่ใช่แค่สถานการณ์แค่ไทยอย่างเดียว แต่ต้องดูสถานการณ์โลกด้วย ว่าจะมีผลกระทบอย่างไร เพราะอัตราเงินเฟ้อและภาวะสินค้าแพง จะบอกว่าเป็นข่าวดีก็ไม่เชิง แต่เรื่องนี้แสดงถึงการที่ประชากรโลกมีการบริโภคมากขึ้น […]
วันที่ 6 ธ.ค.2564 นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงหลังกระทรวงสาธารณสุขตรวจพบผู้ป่วยไวรัสโควิด-19 ต้องสงสัยติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนรายแรกของไทย ซึ่งเป็นการติดเชื้อจากนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันที่เดินทางมาจากสเปนว่า ไม่อยากให้ทุกฝ่ายต้องตื่นตระหนก จนถึงขนาดต้องกลับมาปิดประเทศอีกครั้ง ” เนื่องจากหากมีการปิดประเทศอีก เศรษฐกิจที่กำลังค่อยๆ ฟื้นตัวดีขึ้น จะกลับมาช็อกจะยิ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างรุนแรง เพราะฉะนั้นการปิดประเทศ ไม่ถือเป็นการตอบโจทย์แล้ว ต้องหาวิธีที่ทำอย่างไรให้อยู่ร่วมกันได้ ซึ่งขณะนี้ทางรัฐบาล ก็ประกาศแล้วว่า กระทรวงสาธารณสุข จะติดตามเฝ้าระวัง ตรวจสอบอย่างเข้มข้น เป็นเรื่องที่ดี ที่ต้องดำเนินการอย่างเข้มงวด ” นายสุพันธุ์ กล่าวต่อว่า ตอนนี้ดูตัวเลขคนป่วย เริ่มลดลงแล้ว คนหายป่วย ก็มากกว่าคนป่วย คนเสียชีวิตก็เริ่มลดลง สถานการณ์ทุกอย่างค่อยๆดีขึ้น สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่การเฝ้าระวังอย่างเข้มข้น การฉีดวัคซีนให้ทั่วถึง ตอนนี้เศรษฐกิจของไทยเริ่มค่อยๆดีขึ้น ” ล่าสุดผมลงพื้นที่ไปภูเก็ต คนภูเก็ต เล่าให้ฟังว่าตอนนี้เริ่มดีขึ้นแล้ว หลายๆ พื้นที่ก็ค่อยๆดีขึ้น แปลว่า เรากำลังมาถูกทางแล้ว จึงไม่อยากให้ตื่นตระหนกกันมากเกินไป ไม่เช่นนั้นเศรษฐกิจไทยจะอยู่ไม่ได้ “วอนอย่าตื่นตระหนกปิดประเทศ เจอโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนรายแรกของไทย
นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลกำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจมาถูกทางแล้ว โดยเศรษฐกิจในครึ่งปีแรกขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 และในไตรมาสที่ 2 มีการขยายตัวถึงร้อยละ 7.5 ซึ่งสูงกว่าประเทศอื่นในเอเชีย เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ ทั้งนี้มูลค่าการลงทุนโดยตรงของไทยยังขยายตัวสูงขึ้น ช่วงไตรมาสแรก ปี 2564 มีมูลค่าทั้งสิ้น 4,012.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 43.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนให้เห็นถึงเม็ดเงินลงทุนที่ไหลกลับเข้ามาลงทุนในประเทศไทย สัญญาณการจ้างงานเริ่มมีปรับดีขึ้น อัตราการว่างงานล่าสุดปรับตัวลดลงเหลือร้อยละ 1.9 ของกำลังแรงงาน เทียบกับอัตราการว่างงานที่เคยสูงสุดที่ร้อยละ 2.1 เมื่อปีก่อน คาดว่ารายได้ต่อหัวของประชาชนจะอยู่ที่ 232,024.0 บาทต่อคนต่อปีซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ อยู่ที่ 225,845.7 บาทต่อคนต่อปี จะเห็นว่ารายได้ของประชาชนมีแนวโน้มจะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ นายธนกร กล่าวอีกว่า ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว ส่วนหนึ่งมาจากบทบาทของภาครัฐที่เดินมาถูกทางแล้ว รวมทั้งมาตรการเยียวยา มาตรการฟื้นฟูและกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ จากข้อริเริ่มวิสัยทัศน์ของท่านนายกฯ อาทิ เช่น โครงการเยียวยาผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการคนละครึ่ง โครงการเราชนะ โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มาตรการบรรเทาภาระค่าสาธารณูปโภค […]
วันที่ 3 พ.ค. 64 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เชิญคณะที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจเข้าพบเพื่อหารือเรื่องมาตรการดูแล เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19ในรอบล่าสุดนี้ ซึ่งในที่ประชุมได้พิจารณาถึงความคืบหน้าของมาตรการต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ทั้งในส่วนของมาตรการด้านการเงินผ่านการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 และการออกพ.ร.ก. ด้านการเงินต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่ รวมถึงมาตรการด้านภาษี ทั้งการลดภาษีและการขยายกำหนดเวลาต่างๆ อีกทั้งมาตรการด้านการคลังผ่านโครงการเยียวยา และมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อต่างๆ ซึ่งมีทั้งโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว เช่นโครงการคนละครึ่งระยะที่ 1-2 โครงการเพิ่มกำลังซื้อบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ เช่น โครงการเราชนะ อย่างไรก็ตาม การระบาดของโรคโควิด-19 ในรอบล่าสุดนี้ ได้กระจายไปทั่วประเทศ และมีผลกระทบในวงกว้างกว่ารอบที่ผ่านมา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณามาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติม เพื่อดูแลและเยียวยาประชาชนอย่างเร่งด่วน และฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยเร็ว โดยจะพิจารณามาตรการที่สามารถดำเนินการได้ทันที อาทิ มาตรการด้านการเงิน มาตรการด้านสินเชื่อ มาตรการพักชำระหนี้ รวมถึงมาตรการลดค่าใช้จ่ายของประชาชน มาตรการการรักษาระดับการบริโภคภายในประเทศและมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำในที่ประชุมเรื่องความจำเป็นที่ต้องพิจารณามาตรการที่จะออกมาใหม่ในรอบนี้ด้วยความรวดเร็วและด้วยความรอบคอบ โดยมาตรการใดที่สามารถดำเนินการได้ทันที นายกรัฐมนตรีได้ขอให้หน่วยงานต้นสังกัดนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาในครั้งหน้าที่จะมีการประชุมในวันพุธที่ 5 พ.ค. 64 นี้ได้เลย
วันที่ 26 เม.ย.64 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน เปิดเผยหลังการประชุมแก้ปัญหาโควิด-19 ยังไม่ได้มีการพูดคุยถึงเรื่องมาตรการการเยียวยา แต่ได้มีการหารือถึงการยกระดับในการดูแลสถานการณ์การแพร่ระบาดแล้ว ส่วนการตั้งเป้านักท่องเที่ยวต่างชาติจาก 6 ล้านคน เหลือเพียง 3 ล้านคนนั้น นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ใช่มีสาเหตุจากประเทศไทยเพียงอย่างเดียว ต่างชาติเองก็มีการระบาดเชื้อโควิด-19 ด้วยเช่นกัน แต่ยอมรับว่า เรื่องดังกล่าวกระทบต่อ GDP ของไทยและ GDP ของทั่วโลก การระบาดรอบนี้น่าเป็นห่วงจริงๆ และคิดว่าหากคนไทยช่วยกันก็ยังมีโอกาสที่ GDP ของไทยจะโตขึ้น 4% ได้ เพราะในตอนนี้พบว่าบัญชีเงินฝากของคนไทยสูงขึ้นหลายแสนล้านบาท ดังนั้นหากต้องการให้ GDP สูงขึ้น 4% ก็ขอให้ช่วยนำเงินฝากออกมาใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งหากนำจำนวนเงินฝากจำนวน 5-6 แสนล้านบาท ออกมาใช้ จะเปลี่ยน GDP ได้ถึง 3% หรือหากนำเงินฝากมาใช้เพียงครึ่งหนึ่งก็จะช่วยได้ขยับ GDP ถึง 1% ทั้งนี้ จากการประเมินประเทศไทยจะมี GDP 2.7 […]