Categories
ข่าว

แม่นยำ-ต้นทุนต่ำ จุฬาฯ เผยผลทดสอบ ชุดตรวจแบบว่องไว ตรวจโควิด-19

“ชุดตรวจแบบว่องไว” ได้จากการผลิตโปรตีนแบบเดียวกับที่พบในชิ้นส่วนของตัวไวรัส โดยการใช้ต้นยาสูบสายพันธุ์หนึ่ง แต่ละชุดมีต้นทุนราว 300 บาท และสามารถผลิตได้เองในประเทศไทย ระบบการตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 ของที่นี่ เริ่มตั้งแต่ที่บ้านของผู้ที่คิดว่าตัวเองมีความเสี่ยง เข้าไปลงทะเบียนออนไลน์ผ่านทางแอปพลิเคชัน “เป็ดไทยสู้ภัย” ตอบคำถามตามจริง ประเมินระดับความเสี่ยง และให้แพทย์จิตอาสาคัดกรอง ก่อนจะนัดหมายเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูง รวมกว่า 100 คน เข้ามาตรวจที่ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นจิตอาสาทั้งหมด ทำหน้าที่ดูแลแต่ละขั้นตอน ชุดตรวจแบบว่องไว อาศัยหลักการเรื่องภูมิคุ้มของกันร่างกาย ด้วยการใช้โปรตีนที่ได้จากงานวิจัยซึ่งเป็นแบบเดียวกับที่พบในชิ้นส่วนของตัวไวรัสใส่ไว้ในชุดตรวจ เจ้าหน้าที่จะเจาะเลือดที่ปลายนิ้วของผู้ที่มีความเสี่ยงหยดลงไปเพื่อตรวจหาภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะพบก็ต่อเมื่อมีการติดเชื้อโควิด-19 แล้ว ใช้เวลารอผลราว 10 นาทีจากนั้นจึงวินิจฉัยเพื่อคัดกรองเบื้องต้น ก่อนจะส่งเฉพาะผู้ที่มีผลเป็นบวก ไปตรวจด้วยวิธีการเก็บสารคัดหลั่งซ้ำ ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานที่ยังมีข้อจำกัด ทั้งเรื่องปริมาณน้ำยาตรวจ เวลา ค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงของบุคลากร แต่ถึงแม้ “ชุดตรวจแบบว่องไว” จะแสดงผลได้รวดเร็วและแม่นยำ จุดสำคัญคือ การวินิจฉัย ซึ่งยังคงต้องใช้บุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่าการทดสอบ “ชุดตรวจว่องไว” กับกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านมาเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ได้ผลแม่นยำและน่าพอใจ ขณะนี้จึงเหลือเพียงขั้นตอนเดียว คือ การยื่นขอรับรองจากองค์การอาหารและยา และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อจะสามารถผลิตอย่างเต็มรูปแบบ และเริ่มส่งต่อให้กว่า […]

Categories
ข่าว

รายที่ 3 จุฬาฯ พบ นศ.ติดโควิดเพิ่ม เป็นนิสิตคณะสัตวแพทย์

เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2563 ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แจ้งมาที่ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล ประธานคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินไวรัสโคโรนา ว่ามีนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาของคณะสัตวแพทยศาสตร์ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) จำนวน 1 คน หลังจากที่ได้รับการยืนยันผลการตรวจจากแพทย์ที่โรงพยาบาลศิริราช โดยในขณะนี้ มีรายงานว่า นิสิตคนดังกล่าวได้เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นับว่านิสิตที่ติดเชื้อคนดังกล่าวเป็นผู้ติดเชื้อรายที่สามของจุฬาฯ ทั้งนี้ คณะสัตวแพทยศาสตร์ได้ดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดไว้ในกรณีพบผู้ติดเชื้ออย่างเคร่งครัด โดยได้มีการเก็บข้อมูลผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย สถานที่ที่ไป และกิจกรรมในช่วง 14 วันก่อนแสดงอาการและนำส่งประธานคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินไวรัสโคโรนา 2019 ภายใน 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังได้ปิดสถานที่ทำการของคณะฯ และมีกำหนดดำเนินการทำความสะอาดพื้นที่ส่วนต่างๆ ของคณะฯ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อมาตรฐานการป้องกันและควบคุมโรคในวันที่ 5 เมษายน 2563 นอกจากนี้ ทางคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินไวรัสโคโรนา 2019 ได้เริ่มดำเนินการติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดกับนิสิตคนดังกล่าวเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและให้คำแนะนำต่อไป

Categories
ข่าว

สุดเจ๋ง!! จุฬาลงกรณ์ทำสำเร็จ ชุดตรวจโควิด 10นาทีรู้ผล ลงทะเบียนฟรี เริ่มใช้ 30 มี.ค.

ชุดตรวจโควิด ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของจุฬาฯ กล่าวถึงระบบบริการตรวจสอบ COVID-19 อย่างรวดเร็วที่พัฒนาร่วมกับทีมกลุ่มสตาร์ทอัพจุฬาฯ และเครือข่ายพันธมิตรว่า “สถานการณ์ในขณะนี้ คนไทยกำลังวิตกกังวลกันว่าท่านติดเชื้อไวรัสนี้แล้วหรือยัง เราจึงได้ออกแบบระบบการให้บริการใหม่ CHULA COVID-19 STRIP TEST SERVICE ที่ช่วยคัดกรองผู้ป่วยในเบื้องต้นจากบ้านของท่าน ผ่านการทำแบบสอบถามสุขภาพออนไลน์บน Web Application ‘เป็ดไทยสู้ภัย’ และแพลตฟอร์ม Telemedicin 3 ตัว คือ Chiwi, Dr.A-Z และ Raksa จนกรองผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง หรือ PUI ออกมาและตรวจเฉพาะกลุ่มนี้ด้วย COVID-19 Strip Test ที่กลุ่มสตาร์ทอัพจากคณะเภสัชศาสตร์ของเราพัฒนาขึ้นทั้งแบบ Drive Thru และ Walk Thru ภายในไม่เกิน 10 นาที ท่านจะทราบผลการตรวจ หากผลเป็นบวก ท่านจะต้องไปตรวจ PCR ย้ำอีกครั้งเพื่อยืนยันการติดเชื้อที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ […]