Categories
ข่าว

ห่วงคนไทยไตวาย!! รมว.คลัง จ่อเก็บ “ภาษีเค็ม” จากผงชูรส น้ำปลา เกลือ ผงปรุงรส อาหารสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว

26 พ.ย. 2564 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวในงานสัมมนา เพื่อการขับเคลื่อนมาตรการลดการบริโภคเกลือโซเดียมในประชากรไทย ว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระห่างการศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตความเค็มตามปริมาณโซเดียม โดยมาตรการภาษีสรรพสามิตเป็นอีกเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนให้ประชาชน และผู้ประกอบอุตสาหกรรมลดการบริโภคและลดการผลิตสินค้าที่มีปริมาณโซเดียมสูง ร่วมกับการใช้มาตรการอื่นที่ไม่ใช่ภาษี โดยมีเป้าหมายให้การบริโภคโซเดียมของคนไทยในแต่ละวันให้น้อยกว่า 20% ต่อคนต่อวัน หรือเหลือ 2,800 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน จากอัตราการบริโภคของคนไทยในปัจจุบันที่ 3,600 มิลลิกรัม ต่อคนต่อวัน และมีเป้าหมายให้ลดต่ำกว่า 2,000 มิลลิกรัม ต่อคนต่อวัน อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีจากความเค็มนั้น ต้องไปดูว่าจะเริ่มดำเนินการอย่างไร โดยอาจจะต้องใช้เวลา เพราะต้องมีการหารืออย่างรอบคอบกับผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อาหาร “ปัจจุบันคนไทยเป็นเบาหวาน ความดัน ไตวายเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมาจากการบริโภคหวาน มัน เค็ม ที่ผ่านมาคลังได้มีการจัดเก็บภาษีความหวานไปแล้ว และได้ผลดี ต่อไปจึงเป็นภาษีจากความเค็ม ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น เนื่องจากโรคเรื้อรังส่งผลให้ภาครัฐสูญเสียค่าใช้จ่าย และโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจ ส่วนจะเริ่มจัดเก็บภาษีจากความเค็มได้เมื่อไหร่ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” นายอาคม กล่าวต่อว่า สำหรับภาษีจากความเค็ม จะจัดเก็บทั้งจากอาหารสำเร็จรูป และอาหารกึ่งสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว รวมถึงเครื่องปรุงอาหารทั้งหมด เช่น ผงชูรส […]

Categories
ข่าว

รัฐเร่งเดินหน้า!! เก็บ “ภาษีความเค็ม” ตามปริมาณโซเดียม ลั่น!!ประเทศที่พัฒนาแล้วเขาทำกัน

นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมอยู่ระหว่างการเร่งศึกษาร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ในการขยายฐานการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าความเค็ม เพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการบริโภคสินค้าที่ดีต่อสุขภาพ โดยจะมีการเก็บภาษีตามสัดส่วนของความเค็ม หรือปริมาณโซเดียม หากเค็มมากก็จะเสียภาษีในอัตราสูง ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปเพื่อเสนอให้นายอุตม สาวนายน รมว.คลัง พิจารณาได้ภายในสิ้นปีนี้ “ภาษีความเค็ม ถือเป็นภาษีตัวใหม่ ที่กรมกำลังคิดจะจัดเก็บ ซึ่งก่อนหน้านี้ ไทยยังไม่มีมาก่อน มีแค่การจัดเก็บภาษีความหวาน แต่ในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว ก็มีการจัดเก็บไปหลายประเทศแล้ว ซึ่งขั้นตอนขณะนี้ อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสัดส่วนความเค็มที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยหารือร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขอยู่ ซึ่งหากได้ข้อมูลครบก็จะพิจารณาได้ว่าจะมีการจัดเก็บภาษีดังกล่าวหรือไม่มี” นายพชร กล่าว อย่างไรก็ตาม หากเห็นว่ามีความจำเป็นต้องเก็บภาษีความเค็ม กรมก็จะไม่ได้จัดเก็บในอัตราเดียวทันที แต่จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการปรับตัว เพื่อลดปริมาณความเค็มในสินค้า หรือปรับสูตรผลิตสินค้าเพื่อสุขภาพก่อน โดยจะให้เวลาผู้ประกอบการปรับตัวประมาณ 1-2 ปี ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ระบุอัตราการจัดเก็บที่ชัดเจน สำหรับสินค้าที่จะเข้าข่ายต้องเสียภาษีความเค็ม เบื้องต้น จะคำนวนจากปริมาณโซเดียมต่อความต้องการบริโภค และจะจัดเก็บจากกลุ่มสินค้าอาหารปรุงสำเร็จ เช่น อาหารแช่แข็ง อาหารกระป๋อง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น แต่จะยังไม่มีการจัดเก็บภาษีความเค็มในสินค้าปรุงรส เช่น น้ำปลา เกลือ รวมถึงขนมขบเคี้ยวสำหรับเด็ก เนื่องจากมองว่าขนมเป็นอาหารที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ที่ประชาชนสามารถตัดสินใจเลือกซื้อได้เอง […]