Categories
ข่าว

รักษายาก! สิงห์อมควันไทย 2.6 ล้านคน มีโรคเรื้อรังร่วม 5 โรค

ศ.นพ.วิชัย เอกพลากร ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี หัวหน้าโครงการการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563 เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2565 เปิดเผยว่า จากผลการสำรวจสุขภาพคนไทยพบว่า ผู้สูบบุหรี่ไทยมี 9.9 ล้านคน พบ 27.0% หรือ 2,679,184 คน มีโรคเรื้อรังโรคใดโรคหนึ่งใน 5 โรค คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งหากรวมผู้สูบบุหรี่ที่มีโรคเรื้อรังอื่นๆ ทั้งหมด เช่น โรคมะเร็ง โรคสมองเสื่อม วัณโรค สัดส่วนผู้สูบบุหรี่ไทยที่มีโรคเรื้อรังประจำตัวอาจสูงถึง 1 ใน 3 ของผู้สูบบุหรี่ทั้งหมด ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า แม้จะเป็นเรื่องดีที่อัตราการสูบบุหรี่ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังจะต่ำกว่าในประชากรไทยทั่วไป ซึ่งอัตราการสูบบุหรี่ของชายไทยในการสำรวจนี้เท่ากับ 29.5% ผู้ป่วยเบาหวาน 21.0% โรคหัวใจ 16.2% ความดันสูง […]

Categories
ข่าว

ยากขึ้น!! กรมการขนส่งฯ ห้ามผู้ป่วยเบาหวาน-ลมชัก ทำใบขับขี่

เว็บไชต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกฎกระทรวงคมนาคม เรื่องการขอ และการออกใบอนุญาตขับรถ และการต่ออายุใบอนุญาตขับรถ พ.ศ. 2563 ซึ่งจะมีผลใช้บังคับภายใน 120 วัน หรือราววันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564 โดยสาระสำคัญ คือ การออกใบรับรองแพทย์ประกอบการขอรับใบอนุญาตขับรถหรือขอใบขับขี่ และกำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะขับรถจักรยานยนต์ที่มีกำลังสูง หรือบิกไบก์ ต้องผ่านการอบรมและทดสอบเพิ่มเติม นายยงยุทธ นาคแดง รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างหารือกับแพทยสภาเพื่อจัดทำรายละเอียด ให้สอดรับกับกฎกระทรวง โดยใบรับรองแพทย์ที่จะนำมายื่นขอใบอนุญาตขับรถต้องแสดงว่าไม่มีโรคประจำตัว หรือไม่มีสภาวะของโรคที่อาจเป็นอันตรายขณะขับรถ หรือไม่มีอาการผิดปกติทางจิต หรือไม่มีโรคที่ไม่เหมาะสมกับการขับรถ โดยจะเพิ่มโรคต้องห้าม อาทิ โรคลมชัก, โรคเบาหวาน, โรคความดัน, โรคอารมณ์สองขั้ว, ออทิสติก หรือตัวเตี้ยผิดปกติ 90 เซนติเมตร ไปด้วย โดยหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้ แพทย์ที่ต้องออกใบรับรองแพทย์ต้องประเมินสภาพทางด้านร่างกายของผู้ขอใบรับรองแพทย์และเชื่อมโยงข้อมูลกับกรมการขนส่งทางบก โดยหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะใช้กับรถทุกประเภทที่มารับใบขับขี่ โดยอาจให้นำใบรับรองแพทย์ ที่แสดงว่าเหมาะสมกับการขับรถอย่างปลอดภัยมาแสดงเพิ่มเติม แต่หากเจ้าหน้าที่จะประเมินความพร้อมด้านร่างกายของผู้ขอหรือขอต่อใบขับขี่ ถ้าสังเกตหรือประเมินแล้วพบว่ามีสภาวะด้านร่างกายไม่พร้อม หรือมีความเสี่ยงต่ออันตรายในการขับรถจะนำบุคคลนั้นไปทดสอบการขับรถเพิ่มเติม กรมการขนส่งทางบก กำหนด 5 โรคต้องห้ามได้แก่ โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม, โรควัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ, […]