Categories
ข่าว

อาจเจอโรคอื่น!! กรมการแพทย์ เตือน มีอาการไข้หวัด ถ่ายเหลว ให้ตรวจ ATK ทันที

กรมการแพทย์เตือน มีอาการไข้หวัด ถ่ายเหลว ตรวจ ATK ทันที ถ้าผลเป็นลบ แต่ยังไม่ดีขึ้นใน 48 ชั่วโมง ให้รีบไปโรงพยาบาล อาจเจอโรคอื่น เช่น ‘ไข้เลือดออก’ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ติดเชื้อโควิดส่วนใหญ่ 50% ไม่มีอาการ ส่วนผู้ที่มีอาการแบ่งเป็น ไอและเจ็บคอ 50% , อ่อนเพลีย เป็นไข้ 30-40% และถ่ายเหลว 10% ทั้งนี้ อาการโควิดใกล้เคียงกับโรคไข้หวัดแล้ว แต่ช่วงนี้ที่ต้องระวังเพิ่มขึ้น อาจจะเจอโรคไข้เลือดออกได้ ซึ่งจะมีอาการไข้ และอ่อนเพลียเหมือนกัน “หากสงสัยว่าตัวเองมีอาการคล้ายไข้หวัด หรือแม้แต่ถ่ายเหลว เบื้องต้นให้ตรวจ ATK ได้ทันที หากเป็นผลลบ ก็ให้สังเกตอาการตัวเองใน 48 ชั่วโมง ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้ไป รพ.เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอาการโรคอื่น ๆ เช่น ไข้เลือดออก” นพ.สมศักดิ์กล่าว

Categories
ข่าว

หันหน้าเข้าหากันได้แล้ว! วาเลนไทน์ ปีนี้ กรมอนามัย แนะคู่รัก ตรวจATK ก่อนมี.. เซ็กซ์!

วันที่ 9 ก.พ.65 นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า วันวาเลนไทน์ 14 ก.พ.64 มีคำแนะนำให้คู่รักระวังตัว และไม่หันหน้าเข้าหากัน เพราะตอนนั้นยังไม่มีทั้งวัคซีนป้องกันโควิด และยังไม่มีชุดตรวจ ATK จึงขอให้สวมหน้ากากตลอดเวลา และอย่าหันหน้าเข้าหากันเวลามีเพศสัมพันธ์ แต่ในวาเลนไทน์ ปี 2565 สถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนไปแล้ว คู่รักมีความปลอดภัยมากขึ้น เพราะมีทั้งวัคซีนและชุดตรวจ ATK ทั้งนี้กิจกรรมที่คู่รักนิยมทำในช่วงเทศกาล มีทั้งการฉลองตามร้านอาหารและสถานที่ท่องเที่ยว ขอให้เน้นใช้แอปพลิเคชัน ประเมินและคัดกรองสถานที่ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม โดยเฉพาะอาหารบางร้านที่ปรับมาจาก ผับ บาร์ นพ.สุวรรณชัย กล่าวอีกว่า คู่รักที่นิยมความเป็นส่วนตัว เวลาทำกิจกรรมให้ตรวจ ATK ด้วยเพื่อความปลอดภัย ปีนี้คู่รักจะสามารถทำกิจกรรม และหันหน้าหากันได้แล้ว แต่อย่าลืมว่าเมื่อจบกิจกรรมวันวาเลนไทน์แล้ว ยังต้องเคร่งครัดสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างกับคนในครอบครัว เนื่องจากบางบ้านมีผู้สูงอายุกลุ่ม 608 เพื่อป้องกันการนำเชื้อกลับเข้าบ้าน

Categories
ข่าว

เดินทางปีใหม่! สธ.เผย กำลังประสาน คมนาคม-บขส. คนนั่งรถโดยสารเกิน 4 ช.ม. ต้องตรวจ ATK ก่อน

วันที่ 19 ธ.ค. นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ถือว่าสถานการณ์โควิด 19 ของไทยดี แต่เข้าใกล้ปีใหม่คนทำกิจกรรมเยอะ ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงที่ตัวเลขจะเพิ่มได้ ซึ่งการประเมินสถานการณ์หลักๆ เราไม่ได้ดูแค่ตัวเลขติดเชื้อ โดยจะดู 1.ศักยภาพ รพ.รองรับผู้ป่วยอาการหนักไหวหรือไม่ ภาพที่เคยเห็นเตียงไอซียูเต็ม เตียงเต็มแบบนั้นรับไม่ได้ 2.ระบบสาธารณสุขรองรับผู้ติดเชื้อได้ เช่น อาการไม่หนัก คนป่วยไม่ล้น และ 3.อัตราเสียชีวิตไม่สูงพุ่งมาก ทั้งนี้ เราเคยทำโพลสำรวจประชาชนว่ารับได้กับสถานการณ์อย่างไร เรามีตัวเลขอยู่ แต่เรากำลังจะทำใหม่อีกครั้ง เมื่อถามว่าหากหลังปีใหม่ตัวเลขติดเชื้อไม่เพิ่มขึ้นสูง คาดการณ์การระบาดอย่างไร นพ.โอภาส กล่าวว่า ขณะนี้กำลังคำนวณการระบาดรอบใหม่ว่า หลังปีใหม่การระบาดจะเป็นอย่างไร เป็นแบบจำลองอันใหม่ เพื่อให้ประชาชนเห็นภาพ และใส่ในการอ้างอิงสถานการณ์ แต่ต้องใช้เวลาในการใส่ตัวแปร คาดว่าสัปดาห์หน้าจะแล้วเสร็จ เมื่อถามถึงคำแนะนำสำหรับผู้เดินทางกลับบ้านช่วงปีใหม่ นพ.โอภาส กล่าวว่า หากโดยสารด้วยรถสาธารณะ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำลังประสานกับกระทรวงคมนาคมและ บขส. ว่าหากรถขนส่งสาธารณะที่ต้องนั่งนานเกิน 4 ชั่วโมงขึ้นไป ควรมีการตรวจ ATK ผู้โดยสารก่อนขึ้นรถทุกคน […]