Categories
ข่าว

เริ่มแล้ววันนี้! บังคับใช้กฎหมาย คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ฝ่าฝืนโทษหนัก (รายละเอียด)

วันที่ 1 มิ.ย. 65 ถือเป็นวันแรกที่ PDPA (Personal Data Protection Act) หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้ เพื่อใช้คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความปลอดภัย ไม่ให้ถูกจัดเก็บหรือนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งทราบ หรือได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน นับว่าเป็นกฎหมายที่ทุกคนควรทราบและตระหนักรู้ถึงสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กร ห้างร้าน หรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งในรูปแบบออฟไลน์ หรือออนไลน์ หากมีการเก็บข้อมูลโดยไม่ถูกต้อง อาจมีความผิดตามกฎหมายนี้ได้ คลิกอ่าน พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ฉบับเต็ม

Categories
ข่าว

ไม่ต้องกังวล! “ชัยวุฒิ” ยืนยัน PDPA คุ้มครองสิทธิ์ประชาชน ถ่ายรูป-โพสต์ได้ ถ้าไม่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย ไม่ใช่กฎหมายมุ่งเอาผิดใคร

วันที่ 31 พ.ค.65 นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 มิ.ย.65 นี้ จะเป็นวันสำคัญที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ) หรือที่เรียกกันว่า PDPA ซึ่งย่อมาจาก Personal Data Protection Act จะมีผลบังคับใช้ ส่งผลให้ข้อมูลส่วนบุคคลของเรา ที่ใช้ติดต่อธุรกิจ ติดต่อร้านค้าต่าง ๆ เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ในการทำธุรกรรม ที่เดิมอาจมีกิจการอื่น เช่น บริษัทประกันภัยชีวิต ธนาคาร ร้านค้าออนไลน์ นำข้อมูลของเราเหล่านี้มาใช้ในเชิงธุรกิจ หรือติดต่อเพื่อเสนอสินค้าบริการให้กับเรา โดยที่เราไม่เคยเป็นลูกค้ามาก่อน ข้อมูลเหล่านี้จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ร้านค้าหรือธุรกิจที่เก็บข้อมูลของเรา จะต้องเก็บให้ดี ห้ามรั่วไหล หรือห้ามเอาไปขาย หรือเอาไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ ซึ่งอันนี้มีความผิดตามกฎหมายนี้ “ประชาชนก็จะมีสิทธิ์ในข้อมูลของตัวเอง ถ้าท่านไม่ให้ความยินยอมร้านค้า หรือธุรกิจที่เอาข้อมูลของท่านไป จะเอาข้อมูลนั้นไปใช้ไม่ได้ ซึ่งอันนี้ก็เป็นกฎหมายที่มีประโยชน์จริงๆในการคุ้มครองข้อมูลของประชาชนเพื่อให้มีความมั่นใจในการให้ข้อมูลกับกิจการร้านค้าต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้น” นายชัยวุฒิ ระบุ […]

Categories
ข่าว

คลายข้อสงสัย!! 4 เรื่องไม่จริง เกี่ยวกับ PDPA สิ่งไหนทำได้ ทำไม่ได้ (รายละเอียด)

วันที่ 30 พ.ค. 65 เพจเฟซบุ๊ก PDPC Thailand ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เผยแพร่ 4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 1. การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมจะผิด PDPA ตอบ กรณีการถ่ายรูป-ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปไม่เจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว 2. ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPA ตอบ สามารถโพสท์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล 3. ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิด PDPA ตอบ การติดกล้องวงจรปิด ภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน 4. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้ ตอบ ไม่จำเป็น ต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว (1) เป็นการทำตามสัญญา (2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ (3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล (4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ (5) […]