Categories
ข่าว

อดีตประธานสหภาพ แนะ การบินไทย คืนเครื่องเช่า 42 ลำ ลดหนี้กว่า 1.08 แสนล้าน

วันที่ 23 พ.ค. นายนเรศ ผึ้งแย้ม อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย เปิดเผยถึงข้อเสนอแนะและแนวทางการเร่งลดภาระหนี้สินให้กับการบินไทยว่า ทางออกหนึ่งที่จะช่วยลดภาระหนี้การบินไทยได้จริงคือการคืนเครื่องบินที่อยู่ในสัญญาเช่าดำเนินการ (Operating Lease) ที่ครบหรือใกล้ครบสัญญาที่จะต้องคืนเครื่องให้ผู้ให้เช่า (Lessor) โดยเลือกคืนตามความเหมาะสมและให้สอดคล้องกับโครงข่ายการบินที่การบินไทยจะมีการปรับลดเส้นทางหลังปัญหาโควิด-19 ยุติลงซึ่งจะช่วยลดภาระหนี้ได้มาก นายนเรศ กล่าวต่อว่า ที่สำคัญจะทำให้แผนฟื้นฟูการบินไทยภายใต้ศาลล้มละลายสามารถเดินหน้าได้จริงด้วย รวมทั้งยังป้องกันปัญหาเจ้าหนี้ตามยึดเครื่องบินที่สนามบินอีกด้วย ทั้งนี้ยืนยันว่าการคืนเครื่องเช่าครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการการบินของการบินไทย เนื่องจากปัจจุบันการบินไทยมีฝูงบินเป็นของตัวเองราวกว่า 40 ลำ เพียงพอที่จะให้บริการการบินในเส้นทางต่างๆได้แม้ว่าจะต้องคืนเครื่องเช่าบางส่วน เพราะปัจจุบันผู้โดยสารมีแนวโน้มลดลงหลังจากโลกประสบปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัส-โควิด นายนเรศ กล่าวอีกว่า สำหรับภาระหนี้ค่าเช่าเครื่องบินของการบินไทยปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบตามประเภทสัญญาจัดหา คือ 1.สัญญาเช่าการเงิน (Financial Leasec) คือการเช่าซื้อเมื่อการบินไทยชำระหนี้หมดเครื่องจะตกเป็นทรัพย์สินของการบินไทย และ 2.สัญญาเช่าดำเนินการ (Operating Lease) คือการเช่าเครื่องบินมาใช้งานเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่าการบินไทยจะต้องส่งคืนเครื่องบินแก่ผู้ให้เช่า นายนเรศ กล่าวว่า โดยในส่วนของเครื่องบินเช่าดำเนินการนั้น ณ วันที่ 31 ธ.ค.2562 การบินไทยได้ลงนามในสัญญาเช่าดำเนินการเครื่องบินจำนวน รวมทั้งสิ้น 42 ลำ มีภาระผูกพันต้องจ่ายค่าเช่าเครื่องบินตามัสญญาเป็นเงินทั้งสิ้น 3,587.67 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 108,818.64 […]

Categories
ข่าว

เตรียมใจไว้เลย!! ประธานสหภาพฯ เจ็บปวดที่พูดความจริง เผยสิทธิ์ชดเชยพนง.การบินไทย หากถูกเลิกจ้าง

วันที่ 20 พ.ค. นายนเรศ ผึ้งแย้ม ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย กล่าวว่า หลังจากที่การบินไทยเข้าสู่ขบวนการฟื้นฟูกิจการภายในศาลล้มละลายกลาง บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) จะหลุดพ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ และหลุดพ้นจากพ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2543 ทำให้สิทธิคุ้มครองแรงงานตามกฎหมายดังกล่าวจะหมดไปด้วย นายนเรศ กล่าวต่อว่า โดยอาจจะเข้าสู่สิทธิ์ตามพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 แทน ซึ่งขั้นตอนของการฟื้นฟูกิจการตัวแทนที่เข้ามาบริหารแผนจะเข้ามาปรับโครงสร้างองค์กรทุกหน่วยงานเพื่อให้กิจการของบริษัทกลับมาเดินต่อไปได้ ดังนั้น ในส่วนของบุคคลากรของบริษัทซึ่งปัจจุบันมีอยู่ราว 2.1 หมื่นคน ต้องยอมรับว่าบางส่วนอาจจะต้องถูกเลิกจ้างในระหว่างที่บริษัทกำลังจะเข้าแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งเป็นสิทธิ์ตามกฎหมายของนายจ้าง ที่จะบอกเลิกจ้าง ก่อนที่พนักงานจะอายุครบเกษียณ ส่วนโครงการร่วมใจจากองค์กรคงไม่มีแน่นอน ทั้งนี้ สหภาพฯขอชี้แจงว่า พนักงานทุกคนที่ถูกเลิกจ้างจะได้รับการชดเชยตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ หรือกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ โดยจะได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายเหมือนกัน โดยจะมีหลักเกณฑ์ใหม่ในการจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง แบ่งออกเป็น ดังนี้ 1.ทำงานต่อเนื่องครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้ค่าชดเชย 30 วัน 2.ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ได้รับค่าชดเชย […]